วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มือใหม่กับการเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขา


เอากลับมาให้อ่านอีกครั้งกับบทความนี้เห็นว่ามีประโยชน์เลยจับมาปัดฝุ่นเพื่อให้เพื่อนๆมือใหม่กับการขับขี่และเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขาคันโปรด เพื่อให้เข้าใจและไม่สับสนในระหว่างขับขี่น่ะครับ...

ความสับสนกับการเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขาของเมือใหม่



การเริ่มต้นอะไรใหม่ๆมักจะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเสมอ กว่าเราจะได้จักรยานเสือภูเขาสักคัน ต้องหาข้อมูลมากมาย ต้องเลือกขนาดของรถให้ตรงกับร่างกายของเรา วัตถุประสงค์ในการซื้อจักรยานคืออะไร เพื่อออกการกำลังกาย หรือการแข่งขัน เพราะว่าการเลือกซื้อจักรยานจะต้องแยกออกไปอีกว่า รถสำหรับอะไร? เพราะสำหรับออกกำลังกาย ก็จะมีราคาไม่แพงมาก ศักยภาพไม่สูงอย่างรถสำหรับแข่ง เมื่อได้จักรยานมาแล้ว ก็มาศึกษากันเรื่องการฝึกปั่นจักรยาน

มันดูเหมือนง่ายๆกับการบอกใครๆว่า ไปปั่นจักรยาน แต่สำหรับมือใหม่อย่างเราแล้วช่างเป็นอะไรที่สับสน และต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ผมเองซื้อจักรยานเสือภูเขาเพื่อต้องการออกกำลังกาย เอาแบบสบายๆไม่หักโหม ผมตั้งงบไว้ประมาณ 17,000 และมีรถในดวงใจไว้แล้ว แต่สำหรับมือใหม่อย่างผม เมื่อได้อ่านเรื่องเกียร์รถแล้ว ผมเริ่มจะสับสน และมีคำถามมากมาย การไปเลือกซื้อก็ไม่กล้าที่จะลองปั่น เพราะปั่นไม่เป็น กลัวไปทำจักรยานของเค้าพังอีก (ผมคิดว่ามือใหม่จะต้องมีความคิดแบบนี้เกือบทุกคน)

หลังจากการศึกษาหาความรู้มาพักใหญ่ ผมก็เริ่มจะพอรู้เรื่อง และเข้าใจมากขึ้น บางครั้งการอ่านหรือศึกษาจากทฤษฏีมากไป ขาดการลองปฏิบัติก็จะทำให้เกิดจินตนาการไปต่างๆนานา ดังนั้นเลิกสับสนในใจ ซื้อจักรยานและมาลองให้มันรู้เรื่องไปเลยครับ สุดท้ายมันไม่ได้ยากอะไรเลย ไม่ใช่อย่างที่เรากลัวเลย

มือใหม่จะลองใช้เกียร์อย่างไรในการปั่นเสือภูเขาครั้งแรก

ก่อนอื่นมือใหม่บางคนอาจจะสับสน กับคำว่า “เกียร์หนัก” กับ “เกียร์เบา” ผมขออธิบายแบบนี้ครับ

  • เกียร์หนักคือ เมื่อเราเข้าเกียร์แล้ว เราจะต้องออกแรงปั่นมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นเกียร์สูงๆครับ
  • เกียร์เบาคือ เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้ว ปั่นสบายขึ้น (ต้องเทียบกับความรู้สึกเอานะครับว่า หนัก กลาง เบา ของเราเป็นอย่างไร ลองฝึกไปเรื่อยๆจะรู้เอง)


จานหน้า ชุดเฟืองของเสือภูเขา
ชุดจานหน้า

การใช้เกียร์ด้านซ้ายมือ หรือ จานหน้า จะมี 3 เฟืองเท่านั้นครับ ไม่สับสน มีเล็ก กลาง ใหญ่


  • ใช้เฟืองใหญ่ ตอนลงเขา หรือทางลาดลง อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการต้องการความเร็วนะครับ แต่ถ้าเราใช้จานหน้าเป็นเฟืองใหญ่ตอนลงเขา มันจะเซฟขาของคุณจากความคมของยอดฟันใบจาน ซึ่งคมพอที่บาดขาคุณลงไปถึงกล้ามเนื้อได้
  • ตอนขึ้นเขา ใช้เฟืองกลางครับ แต่ดูแรงของเราก่อนนะครับว่า ไหวไหม ถ้าไม่ไหวจริง เปลี่ยนมาเป็นเฟืองเล็กครับ
  • ถ้าเป็นทางเรียบ ใช้เฟืองกลางหรือใหญ่ก็ได้ครับ ตามกำลังของเรา แต่จริงๆแล้ว เฟืองกลางเหมาะสุดแล้วครับ

จานหลังเสือภูเขา ชุดเฟืองเกียร์
ชุดจานหลัง

ตัวเลขของเกียร์ของเสือภูเขา (สำหรับด้านขวามือ หรือจานหลัง)


  • เฟืองเล็ก คือเกียร์สูง จะเป็นเกียร์ที่เราใช้ความเร็วครับ เช่น ทางเรียบ เปรียบกับรถยนต์เอาก็แล้วกันนะครับถ้าต้องการความเร็วก็ใช้เกียร์สูง สำหรับจักรยาน เกียร์สูง = เกียร์หนัก ต้องออกแรงปั่นมากขึ้นด้วยครับ
  • เฟืองใหญ่ คือ เกียร์ต่ำ จะใช้ตอนเราออกตัว หรือ ตอนปั่นขึ้นทางที่ลาดชัน หรือขึ้นเขา แล้วก็ตอนที่จอดรถไว้เฉยๆ จะต้องเข้าเกียร์ไว้ครับ ดังนั้นสรุปว่า เกียร์ต่ำ = เกียร์เบา จะใช้แรงน้อย

การเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขา
รูปการปรับเกียร์เสือภูเขาที่ถูกต้องสำหรับมือใหม่

มือใหม่ควรใช้เกียร์อะไร? ในตอนฝึกครั้งแรก


  • ผมขอแนะนำว่า ให้คุณปรับเกียร์ข้างซ้ายไปที่เกียร์ 2 หรือ ที่เราๆเรียกกันว่า จานหน้า (เพราะ เกียร์ 1 เราไม่ค่อยจะรู้สึกมาก มันเบาไปครับ เริ่มที่2 จะรู้สึกดีกว่า) หรือให้ปรับใช้จานกลาง เป็นหลักเมื่อปั่นจักรยาน แล้วไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับมันอีกแล้วครับ (ในระยะที่ฝึกปั่นใหม่ๆนะครับ)
  • ส่วนการเปลี่ยนปรับเกียร์ ให้เราใช้เกียร์ขวามือในการปรับครับ ฝึกใหม่ๆผมแนะนำให้ปรับไปที่ เกียร์ 3 ครับ พอหลังจากนั้นลองปรับไปที่เกียร์ 4 ฝึกไปอย่างนี้ก่อนสักระยะ

หลังจากนี้ ถ้ากำลังของคุณอยู่ตัวแล้ว จะลองปรับไปที่เลข 5, 6,7 ตามแต่ใจของคุณต้องการ ให้ดูรูปข้างบนประกอบเลยครับ การปรับเกียร์ที่ถูกต้อง ส่วนรูปข้างล่างคือตัวอย่างการเบนแนวโซ่มากเกินไป

การเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขา ที่ไม่ควรใช้
การเปลี่ยนเกียร์ที่ไม่ควร นอกจากการจอดรถไว้เฉยๆ

ข้อควรระวังในการเปลี่ยนเกียร์เสือภูเขาสำหรับมือใหม่


  • มือซ้ายนะครับ เราจะไม่ปรับจานหน้าไปเป็นจานเล็ก (เกียร์1) แล้วปรับจานหลัง ขวามือเราไปเป็น จานเล็ก (เกียร์9)
  • และเราจะไม่ปรับจานหน้า ไปเป็นจานใหญ่ (เกียร์ 3) พร้อมกับเปลี่ยนจานหลัง ไปเป็นเฟืองใหญ่ (เกียร์ 1)

เพราะการกระทำแบบนี้จะทำให้แนวโซ่เบนมากที่สุด จะส่งผลเสียต่อระบบเกียร์ ส่งผลให้โซ่ขาดได้ นอกจากนี้ตัวตีนผีเองจะถูกโซ่ดึงจนกาง ออกเกือบจะเป็นเส้นตรง ซึ่งถ้าความยาวของโซ่สั้นเกินไปกว่าที่ควรขาตีนผีอาจจะถูกบิดจนโก่งงอ

หวังว่าคุณผู้อ่านจะไม่งงนะครับ ถ้าไม่เข้าใจก็ลองปรับ หรือลองปั่นดูครับจะได้รู้และเข้าใจมากขึ้น ไม่ยากจนเกินไป และต้องใช้การฝึกฝนครับ แล้วจะสนุกมาก การปั่นจักรยานเสือภูเขาเป็นการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ และได้กำไรในการพักผ่อนไปในตัวได้ครับ

GMC Topkick Dual-Suspension Mountain Bike


 แนะนำจักรยานเสือภูเขาสวยๆ-GMC Topkick Dual-Suspension Mountain Bike

GMC Topkick Dual-Suspension Mountain Bike

จักรยานจาก GMC Topkick Dual-Suspension Mountain Bike, เต็มรูปแบบกับจักรยานแบบ full-suspension เฟรมทำจากอลูมิเนียมพิเศษแข็งแรง และรับน้ำหนักได้ดีประมาณ 294.83 ก.ก จักรยานรุ่นนี้เหมาะกับการขี่ในเมืองและออฟโรด เป็นการออกแบบที่แปลกตา เพราะเอาช็อคอัพ มาไว้ที่ใต้เฟรม การรับแรงสะเทือนน่าจะเป็นการช่วงกลาง และถ่ายเทไปที่ช็อคอัพ
ตัวเฟรมมีขนาด 26 นิ้ว 21 สปีด เป็นเกียร์จาก Shimano ซึ่งรายละเอียดของรถจักรยานมีดังต่อไปนี้


  • Frame: 26-inch full-suspension aluminum MTB frame
  • Fork: Zoom CH-386 suspension fork, 65mm travel
  • Shocks: Kind Shock, adjustable to 650 pounds
  • Chain: KMC Z51
  • Crankset: Alloy ISA 335P, 28/38/48, L170mm
  • Front derailleur: Falcon MF 31 T
  • Rear derailleur: Shimano RD-TZ30GS SIS, 7 speed
  • Shifters: Microshift TS-50 ADII index L3/R7
  • Brake levers: GP 30 AP aluminum
  • Brakes: LCHI DSK-320 disc brakes, 160mm
  • Rims: Alloy black 26 x 1.5 inches
  • Tires: Kenda black with yellow band 700 x 25C
  • Stem: A-head TDS63K-8, EXT: 100mm, 15D
  • Handlebar: HL-MTB 153, W: 600mm, R: 30mm
  • Saddle: Velo, black padded
  • Seat post: Alloy micro-adjust 27.2 x 300mm with quick-release

  • ที่นำรุ่นนี้มาให้ดูมาเขียนเพราะรถยี่ห้อนี้ ดูแล้วบึกบึนแข็งแรงราคาไม่แพงสักเท่าไรประมาน 299.99เหรียญ เลยนำมาเสนอเพื่อช่วยในการตัดสินใจ จ่ายแพงกว่าทำไม....

การเลือกซื้อรถจักรยานเสือภูเขา



การเลือกซื้อรถจักรยานเสือภูเขาสำหรับมือใหม่

วิธีการเลือกซื้อรถจักรยานเสือภูเขา

สำหรับมือใหม่ที่สนใจจักรยานเสือภูเขาคงจะไม่เข้าใจหรือหาข้อมูลในการช่วย ตัดสินใจในการซื้อจักรยานคันแรกไม่ค่อยได้. บทความแรกของเราจะนำเสนอคู่มือในการเลือกซื้อเสือภูเขาเท่ห์ๆสักคัน ซึ่งในบทความจะประกอบไปด้วย หลักการเลือกซื้อ และอุปกรณ์ที่มือใหม่ควรจะทราบ เริ่มกันเลยดีกว่า

1. กำหนดงบประมาณที่แน่ชัด.
คุณควรจะกำหนดงบประมาณในการซื้อรถจักรยานเสือภูเขาไว้ในใจ เพื่อที่คุณจะได้ควบคุมค่าใช้จ่ายบวกลบเวลาที่เข้าไปเลือกซื้อจริงๆ ทั้งหมดนี้รวมถึงราคาอุปกรณ์ต่างๆที่อาจจะต้องซื้อเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงตาม ความต้องการของคุณ ควรเลือกซื้อกับร้านค้าที่ใกล้บ้านของคุณก่อน ก่อนที่เลือกซื้อกับร้านค้าออนไลน์หรือสโตร์ใหญ่ๆทั่วไป เพราะว่าร้านค้าเหล่านี้จะมีส่วนลดหรือราคาที่ถูกกว่า อีกประการหนึ่งคุณสามารถต่อรองราคาได้ และสามารถสั่งเพิ่มเติมหรืออัพเกรด เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ได้ หากเลือกซื้อจากร้านสโตร์ เช่น ห้างสรรรพสินค้า คุณจะไม่สามารถเลือกต่อรองราคาที่สมเหตุสมผลได้เลย

2. เลือกสไตล์ที่คุณต้องการ
จักรยานเสือภูเขาถูกออกแบบบมาเพื่อใช้งานหลายชนิดแตกต่างกัน คุณจะต้องค้นหาสไตล์ไหน การขับขี่แบบไหนที่ถูกใจคุณมากที่สุด เช่น แบบทางเรียบ (smooth trail riding), ครอส-โรด (Cross-road), แบบวิบาก ขึ้น-ลงเขา (all mountain cruising) เพราะว่าราคาของจักรยานจะแตกต่างไปตามประเภทการใช้งาน และเพือความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป

3. ระบบช็อค-อัพ แบบเต็มรูปแบบ (Full suspension) หรือว่า แค่ช็อคหลัง (Hardtail)
เราแนะนำว่า ให้คุณเลือกซื้อแบบรูปแบบ คือมีช็อคอัพ ทั้งด้านหน้า-หลัง ถ้าหากว่าคุณมีงบประมาณเพียงพอที่จะซื้อได้ มันช่วยให้คุณบังคับรถได้ง่ายและสบายกว่า แบบ ช็อคด้านหลัง เพืยงอย่างเดียว ระบบช็อคเดียว (Hardtail) อาจจะมีน้ำหนักเบา ขับขี่ได้คล่อง แต่ว่าในความคิดของเรามันก็ยังสู้แบบ ช็อคหน้า-หลังไม่ได้อยู่ดี

เบรคแบบก้ามปู-วิธีเลือกซื้อจักรยานเสือภูเขา  ดิสก์เบรค-วิธีเลือกซื้อจักรยานเสือภูเขา

4. ระบบเบรคแบบ ดิสก์เบรค (Disc brakes) หรือ แบบก้ามปู (Rim brake) ดี?
ดิสก์เบรค (Disc brakes) มีประสิทธิภาพดีมากกว่าเบรคแบบก้ามปู (Rim brake) ไม่ต้องการการดูแลมาก ซึ่งเบรคแบบก้ามปูจะมีข้อบกพร่อง หรือทำงานได้ไม่ดีพอในสภาพเปียกน้ำ หรือเต็มไปด้วยโคลน แต่มีข้อดีตรงที่น้ำหนักเบา
แต่อย่างไรก็ตาม, ดิสก์เบรค มักจะมีน้ำหนักมากกว่า เบรคก้ามปู ประมาณ 150-350 กรัม ขึ้นอยู่กับ ขนาดล้อ, ขอบ, ฮับและระบบดิสก์เบรคที่คุณเลือก นอกจาก หากคุณต้องการเปลี่ยนจากระบบเบรคหนึ่ง ไปยังระบบเบรคหนึ่ง คุณจะต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งเซต เพราะระบบเบรคแต่ละประเภทจะไม่รองรับล้อ หรือขอบล้อของเบรคอีกประเภทหนึ่ง ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อควรตัดสินใจให้แน่นอนว่าต้องการเบรคแบบไหน

5. สปีด หรือ ระดับเกียร์
ปัจจุบันนี้มีเกียร์มากมายหลายสปีด ซึ่งจริงๆแล้ว ผู้ขับขี่จักรยานมักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ถึงคุณจะมีจักรยาน 24-27 สปีด คุณจะใช้มันไม่ครบ อาจจะใช้ได้เพียง 15-16 อัตราทดเท่านั้น ซึ่งการขับขี่ก็จะต้องมีเทคนิคด้วย ผู้ขับขี้จะต้องรู้ว่า ตอนนี้ตนใช้เกียร์ใดหรือแถวโซ่อยู่ด้านใด การเปลี่ยนเกียร์จากหน้าไปในสุด หรือจากจานหน้าใหญ่สุด ไปหลังใหญ่สุด จะเสียงต่อขาตีนผีถูกบิดจนโก่งงอ นอกเรื่องไปมากแล้ว กลับมาระบบเกี่ยร์ที่คุณควรจะเลือกซื้อต่อ จากรายละเอียดข้างบน คุณต้องการสปีดเท่าไหร่ แบบไหน อยู่ในงบหรือไม่ ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมกับความต้องการของคุณ

6. ทดลองขี่
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนการจะเลือกจักรยานคู่ใจ ก็ควรจะทดสอบว่า มันเหมาะกับความต้องการของคุณหรือไม่ เบรคเป็นอย่างไร ขณะปั่นถูกใจหรือไม่ คุณสามารถทดสอบได้ด้วยตัวของคุณเอง
จบลงแล้วสำหรับการเลือกซื้อรถจักรยานเสือภูเขา ต่อไปบทความหน้า จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรติดตามได้นะครับ