วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
10อันดับเสือภูเขาที่ดีที่สุดตลอดกาล
จักรยานเสือภูเขา คือจักรยานที่ ออกแบบมาเพื่อให้ ขี่ขึ้นลง ภูเขาได้สะดวก หลายๆ ซึ่งตอนนี้ มียี่ห้อดังๆมากมายหลายยี่ห้อ ที่ผลิตจักรยานเสือภูเขาออกมา ไม่ว่าจะ มองกูส หรือ เมอริด้า ก็ต่างผลิตกันออกมาแข่งขันกันใหญ่ ในประเทศไทยก็มีแบรนด์นะครับ ทั้ง LA ก็อปปี้ และ ไทเกอร์ อันนี้ก็เป็นแบรนด์ของไทยเราเองเลยครับ เป็นแบรนเสือภูเขาอันดับต้นๆ แต่ตอนนี้ ไม่รู้จะมีของไทยเราหรือเปล่าที่ติดอันดับ เสือภูเขาที่ขายดีที่สุด ฮิตที่ดี และปั่นดี ใช้งานดีที่ มาดูกันเลยครับ อัพยิ้มพร้อมพาคุณไปออกกำลังกายแล้ว
10.Specialized demo 8 II
9.Specialized status 2
8.Specializes sx trail
7.Trek session 9.9
4.Giant faith 0
3.Santa cruze v10 carbon
2.Kona entourage deluxe
1.Mongoose
Mongoose
คลิป10อันดับเสือภูเขาที่ดีที่สุดตลอดกาล
วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
แต่งเสือ(ภูเขา)ให้ขี่สบาย
แต่งเสือ(ภูเขา)ให้ขี่สบาย
ไปกันต่อน่ะครับกับบทความนี้ ผมได้อ่านบทความหนึ่งมาล่ะเห็นว่าน่าสนใจเลยเอามาฝากครับสำหรับคนที่เริ่มอยากเติ่งแสือภูเขาคันโปรดให้ขี่สะบายได้ทั้งวันแบบไม่เหนือยไม่เจ็บตามตัวตามรางกายขี่แล้วเพลินทั้งวัน ไม่ล้า ตามนี้เลยครับผมก็ใช้รูปแบบการแต่งนี้60%ของรถคันโปรดของผมเหมือนกันและหวังว่าคุณก็น่าจะสนใจเช่นกันครับ.....
ก่อน ซื้อจักรยานภูเขามาขี่ เคยนึกว่าจักรยานมีแค่ 2 ล้อ อุปกรณ์ก็น้อย และไม่มีเครื่องยนต์ คงไม่มีปัญหายุ่งยากมากมาย แต่พอซื้อคันแรกมาขี่ไปได้สักพักหนึ่งจึงเริ่มรู้สึกว่า แฮนด์กว้างและไกลมือ เลี้ยววงแคบไม่คล่องตัว ท่อบนค่อนข้างสูง พอใส่โช๊คอั๊พหน้าก็ยิ่งสูงขึ้นอีก อานแข็งกระด้างและติดต้นขาด้านใน ทำให้ปั่นรอบเร็วไม่ถนัด เบรกดัง แม้ปรับหน้าผ้าเบรกให้เสมอแล้วก็ยังดัง ล้อก็คดอยู่เรื่อย เกียร์เปลี่ยนได้เองราวกับว่าเป็นเกียร์อัตโนมัติ ต่อมาเมื่อได้รับคำอธิบายอย่างละเอียด จากช่างจักรยานซึ่งเป็นอดีตนักปั่นระดับชาติท่านหนึ่ง คือ คุณจุมพต กุหลาบแก้ว จึงได้ทราบต้นตอของปัญหา และในที่สุดก็ต้องยอมซื้อคันใหม่ ที่ตัวถังเล็กกว่าเดิม คราวนี้อุปกรณ์ต่างๆ และลูกปืน 4 จุดหลัก คือ ดุมล้อ ชุดกะโหลก ลูกกลิ้งตีนผี และแกนบันได ดีขึ้นกว่าเดิม จึงรู้สึกได้ชัดว่า ทรงตัวดี เลี้ยวคล่อง ปั่นลื่น ท่านั่งถนัด ขี่สบายกว่าเดิมเยอะเลย เมื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อยๆ จนครอบคลุมอุปกรณ์สำคัญของจักรยานทั้งคัน จึงเรียบเรียงเทคนิค การปรับแต่งจักรยานภูเขาสำหรับมือใหม่ มาเล่าสู่กันฟัง
1. ขนาด (SIZE)
โดย ทั่วไปหมายถึง ความยาวของ ท่อนั่ง(Seat Tube) แต่ในยี่ห้อเดียวกันนั้น คันที่มีท่อนั่งยาว จะมีท่อหน้า(Head Tube) ท่อบน(Top Tube) และท่อล่าง(Down Tube) ยาวตามไปด้วยเช่นกัน ตัวถัง(Frame)จักรยานภูเขาแต่ละรุ่น มักจะมีท่อนั่งยาวต่างกันขนาดละ 2 นิ้ว ผู้ขี่บางคนจึงอาจต้องแก้ปัญหาความไม่พอดี ด้วยการปรับเปลี่ยนคอแฮนด์ ให้สั้น-ยาว และมีองศาสูงต่ำที่เหมาะสม ประกอบกับการปรับอานให้สูง-ต่ำ และเลื่อนไปหน้ามาหลัง ให้พอดีกับผู้ขี่ได้ แต่ควรเลือกจักรยานให้มีขนาดตัวถังพอเหมาะ โดยใช้วิธีเข้าไปยืนคร่อมท่อบน สำหรับจักรยานที่มีตะเกียบหน้า(Front Fork)แบบธรรมดา ก็ให้เป้าสูงกว่าท่อบน 2-3 นิ้ว ส่วนตะเกียบหน้าแบบโช๊คอั๊พ ก็ให้เป้าสูงกว่าท่อบน 1-2 นิ้ว ทั้งนี้เพราะโช๊คอั๊พหน้าเผื่อช่วงยุบตัวไว้ ทำให้ท่อบนสูงขึ้นประมาณ 1 นิ้ว ผู้หญิงมีช่วงขายาวกว่าช่วงลำตัวค่อนข้างมาก จึงควรเลือกยี่ห้อหรือรุ่นที่มีท่อบนค่อนข้างสั้น ส่วนผู้ชายนั้นกลับกัน จึงควรเลือกท่อบนที่ค่อนข้างยาว ท่อบนที่ยาวพอดีนั้น ลำตัวผู้ขี่จะโน้มทำมุมกับแนวระนาบประมาณ 50 องศา
2. คอแฮนด์ (STEM)
มี ความยาวให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ 8 ถึง 15 ซ.ม. และมีมุมเงยจากแนวระนาบให้เลือกอีกหลายมุมองศา ผู้ขี่อาจมีความจำเป็นในการเปลี่ยนคอแฮนด์ ให้มีขนาดยาวขึ้น ในกรณีที่ผู้ขี่มีลำตัวและช่วงแขนยาวมาก หรือขนาดของตัวถังจักรยานเล็กกว่าตัวผู้ขี่ ซึ่งท่อบนจะค่อนข้างสั้น ก็อาจเปลี่ยนคอแฮนด์ให้มีความยาวเพิ่มขึ้นได้ หากแฮนด์สูงมากไป ก็สามารถถอดคอแฮนด์คว่ำกลับหัวลงได้ หากแฮนด์ต่ำไปก็เปลี่ยนคอแฮนด์ใหม่ ให้มีองศาสูงขึ้นได้เช่นกัน คอแฮนด์ที่สั้นจนไม่เหมาะสม กับความยาวช่วงแขนและลำตัวของผู้ขี่ จะทำให้หัวรถมีความไวมาก และบังคับรถยากขึ้น สำหรับจักรยานภูเขาแบบ DOWNHILL จะมีคอแฮนด์สั้นและองศายกสูงขึ้น จนแฮนด์สูงกว่าระดับอาน เพราะต้องชดเชยท่าขี่ขณะลงเขาไม่ให้ก้มหน้ามากเกินไป และเพื่อให้น้ำหนักตัวผู้ขี่ถ่ายมาอยู่ที่ล้อหลังมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการเลี้ยวไม่เข้าโค้ง และไม่ให้ตีลังกาง่ายเกินไปในขณะที่ขี่ลงเขา คอแฮนด์ที่ยาวพอดีนั้น ขณะขี่จะมองเห็นแฮนด์ทับจนล้ำแกนดุมล้อหน้า
3. แฮนด์ (HANDLEBAR)
มี อยู่ 2 แบบ คือ แบบตรง(โค้งนิดหน่อย) ใช้สำหรับเส้นทางที่ไม่มีช่วงลงเขายาวๆ มีความยาวประมาณ 21-23 นิ้ว ซึ่งเท่ากับช่วงไหล่ของชาวตะวันตก จึงควรตัดปลายทั้ง 2 ข้าง ให้เหลือความกว้างเท่ากับช่วงไหล่ของผู้ขี่ ซึ่งเมื่อจับแฮนด์ทั้ง 2 ข้างแล้ว แขนควรอยู่ในลักษณะที่ขนานกัน ถ้าแขนถ่างออกกว้างมาก จะงอข้อศอกยาก และบังคับเลี้ยวไม่คล่องตัว แต่หากแขนหุบแคบจะบังคับรถได้ยาก และหายใจไม่ค่อยเต็มปอด สำหรับผู้หญิงจะมีช่วงไหล่แคบกว่าช่วงสะโพก จึงควรตัดปลายแฮนด์ให้เหลือความยาวพอดีกับช่วงกว้างของสะโพก ส่วนแบบที่ 2 คือ แบบDOWNHILL มีลักษณะคล้ายปีกนก ไม่สามารถตัดปลายได้มากนัก เพราะต้องเหลือความยาวให้พอที่จะติดตั้ง มือเบรก(Brake Lever) มือเกียร์(Shift Lever) และอุปกรณ์ต่างๆ ส่วนการปรับมุมก้มเงยของแฮนด์ ก็ควรหมุนตัวแฮนด์ให้ปลายแฮนด์ทั้ง 2 ข้าง ลู่ชี้ไปทางไหล่ของผู้ขี่ เพื่อที่เวลาใช้มือจับแฮนด์แล้ว ข้อมือจะได้ไม่งอมากจนเกิดอาการชาที่มือ และจุดที่แฮนด์ต่อกับคอแฮนด์ ควรอยู่ต่ำกว่าระดับอานประมาณ 1-4 ซ.ม. ซึ่งยืดหยุ่นตามความยาวของช่วงแขน ถ้าสภาพทางขรุขระ ควรกำแฮนด์จักรยานที่มีตะเกียบแบบธรรมดาเพียงหลวมๆ ส่วนตะเกียบแบบโช๊คอั๊พ จะกำแน่นก็ได้ เมื่อเจอสถานการณ์ทางลงลาดชันที่เป็น ร่องน้ำฝน ดินลื่น หรือ ทราย ควรลดจุดศูนย์ถ่วงลง โดยการยกบั้นท้ายขึ้น แล้วใช้ขาด้านในหนีบหัวอานเบาๆ เพื่อถ่ายน้ำหนักตัวไปอยู่ที่ชุดกะโหลก(Bottom Bracket) ซึ่งเป็นจุดหมุนของชุดจาน(CrankSet) พร้อมกับงอข้อศอกและเข่าเล็กน้อย เพื่อรอซับแรงกระแทก
4. บาร์เอ็น (BAR END)
เป็น อุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งที่ปลายแฮนด์ทั้ง 2 ข้าง มีประโยชน์ในการใช้จับดึงเข้าหาตัว เพื่อให้ถนัดในการเพิ่มแรงเหยียบบันได(Pedal) ขณะที่ปั่นขึ้นเขา หรือเนินชันยาวๆ ควรปรับมุมองศาให้เงยจากแนวระนาบ 10 - 45 องศา ตามความถนัดของผู้ขี่ และยังมีส่วนป้องกันไม่ให้มือหลุดจากแฮนด์
5. อาน (SADDLE)
มี หลากชนิดและหลายแบบ อานเป็นอุปกรณ์แรก ที่อาจสร้างความปวดแสบปวดร้อน ให้แก่ผู้ขี่มือใหม่ ที่ไม่เคยนั่งอานมานานๆ หากไม่แน่ใจว่า ก้นกบจะแตกเป็นแผลหรือไม่ ก็ควรเลือกอานชนิดที่เป็น เจล ซึ่งมีทั้งความหนาและความนุ่ม และเลือกความกว้างของอาน ให้พอเหมาะพอสมกับความกว้างของกระดูกเชิงกราน ซึ่งผู้หญิงมักจะมีช่วงเชิงกรานกว้างกว่าผู้ชาย ส่วนมือเก่าที่ชินอานแล้ว ก็สามารถใช้อานชนิดบางและแคบได้ ซึ่งในขณะที่ปั่นรอบเร็วๆ ส่วนกว้างของอาน จะไม่ติดต้นขาด้านใน ส่วนความเป็นสปริง ก็จะขึ้นอยู่กับแบบของโครงอาน และคุณภาพของก้านรองอาน อานบางรุ่นมีรูปทรงปาดลู่ไปด้านท้าย ซึ่งเหมาะกับจักรยานแบบDOWNHILL หรือจะใช้กับจักรยานภูเขาที่มีการขี่ลงจากที่ชันบ่อยๆ ซึ่งจำเป็นต้องยกบั้นท้ายโยกไปทางล้อหลัง ก็จะสะดวกในการโยกตัวกลับ เพราะต้นขาด้านใน จะไม่ติดท้ายอานแบบปาดลู่ สำหรับการปรับความสูงของหลักอาน(Seat Post)อย่างง่ายๆนั้น ก็ปรับความสูงโดยการขึ้นไปนั่งขี่ แล้ววางส้นเท้าข้างหนึ่งไว้บนบันได ขณะที่บันไดข้างนั้นอยู่ที่ตำแหน่งต่ำสุด แล้วปรับความสูงขึ้นไปจนขาอยู่ในลักษณะยืดตรง ซึ่งเมื่อเลื่อนปลายเท้ามาวางบนบันได ในท่าขี่ปกติ เข่ายังสามารถงอได้ประมาณ 5-10 องศา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ขี่แต่ละคน แต่ไม่ควรปรับอานสูงจนเข่ายืดตรง เพราะจะเป็นตะคริวได้ง่าย ระดับความก้มเงยของอาน ก็ควรปรับให้ขนานกับพื้น หากชอบปรับอานให้ก้มนิดๆ ก็ไม่ควรปรับให้แนวอานชี้ต่ำกว่าจุดที่แฮนด์ต่อกับคอแฮนด์ ส่วนการปรับเลื่อนอานไปหน้ามาหลังนั้น ควรปรับให้แนวหลักอานอยู่กลางตัวอาน แต่สามารถปรับเลื่อนไปหน้ามาหลังได้อีกเล็กน้อย เพื่อให้อยู่ในท่าขี่ที่ยืดตัวยืดแขนได้ถนัดและมั่นคง มีสิ่งที่พึงสังเกตุว่า ท่านั่งของจักรยานภูเขา ที่ใช้ขี่ในภูมิประเทศที่เป็นทางเรียบเป็นส่วนใหญ่นั้น หากปรับเปลี่ยนคอแฮนด์ให้มีองศาต่ำๆ และยาวกว่าปกติสัก 2 ซ.ม. พร้อมกับปรับเลื่อนอานไปข้างหน้า 2 ซ.ม.เช่นกัน ผู้ขี่ก็จะอยู่ในท่าที่ก้มและโย้ลำตัวไปข้างหน้าอีก 2 ซ.ม. ก็จะคล้ายกับการเพิ่มองศาของท่อนั่งให้ตั้งขึ้น ซึ่งจะใกล้เคียงกับองศาของจักรยาน ที่ใช้สำหรับการแข่งขันนั่นเอง โดยทฤษฎีแล้ว อาจจะได้ความเร็วเพิ่มอีกนิดหน่อย แต่ก็เป็นท่าขี่ ที่อาจก่อให้เกิดความปวดร้าวที่ แขน ไหล่ และคอ ของผู้ขี่ได้เช่นกัน และหากผู้ขี่ไม่เคยฝึก อย่างนักกีฬาจักรยานมาก่อน ก็อาจหายใจได้ไม่ลึกพอ สำหรับภูมิประเทศที่เป็นทางลงเขายาวๆ ควรปรับลดอานลงจนต่ำกว่าแฮนด์ เพื่อชดเชยท่าขี่ขณะลงเขาไม่ให้ก้มหน้ามากเกินไป พร้อมกับปรับเลื่อนอานไปข้างหลัง เพื่อรักษาระยะห่าง ระหว่าง แฮนด์กับอานไม่ให้ชิดเกินไป
6. วงล้อ (RIM) & ซี่ลวด (SPOKE)
วง ล้อมีทั้งแบบชั้นเดียว และ 2 ชั้น ถ้าเป็นอะลูมิเนียมเนื้อดี จะมีตาไก่ที่รูซี่ลวด และมีความแข็งแรง แต่น้ำหนักเบา ถ้าดีขึ้นไปอีก ขอบล้อจะเคลือบด้วยวัสดุที่มีความแข็งเทียบเท่าความแข็งของเซรามิค ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เป็นรอยง่าย และเบรกได้ดีแม้ในสภาพลุยน้ำลุยโคลน วงล้อที่ประกอบมาจากโรงงาน ส่วนใหญ่ใช้เครื่องขันหัวซี่ลวดด้วยแรงลม จึงอาจไม่กลมหรือคดออกข้างนิดหน่อย เวลานำมาประกอบกับ ตัวถัง จักรยาน ก็อาจโย้ไปชิดตะเกียบด้านซ้ายหรือขวามากเกินไป สำหรับล้อที่เป็นวงรีมาก ผ้าเบรกอาจสีกับยางจนขาดทะลุเป็นแผลยาว หากคดออกข้างมากๆ ขอบล้อก็อาจไปเสียดสีกับผ้าเบรกด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งมีผลให้ความเร็วลดลง จึงควรหมั่นตรวจเช็ควงล้อบ่อยๆ หากพบอาการดังกล่าว ให้รีบนำไปให้ช่างปรับแต่งซี่ลวดโดยด่วน ซี่ลวดธรรมดาทำด้วยเหล็กชุบโครเมียม ส่วนซี่ลวดชั้นดีจะทำด้วยสแตนเลส หรือไททาเนียม ซึ่งมีตอนกลางของซี่ลวดเล็กกว่าส่วนปลายทั้ง 2 ข้าง จึงทำให้มีน้ำหนักเบา วงล้อที่ขันหัวซี่ลวดปรับแต่งจนซี่ลวดตึงเท่ากันทั้ง 2 ด้าน จะเกิดความแข็งแรงและไม่คดง่าย
7. ยางนอก (TIRE)
ยาง นอกแบบวิบากของจักรยานภูเขา ที่ใช้กับล้อหน้า โดยทั่วไปมักจะมีดอกยางแตกต่างกับล้อหลัง จึงควรตรวจสอบดูอักษรบอกสภาพทาง และลูกศรชี้ทิศทางหมุน ที่บริเวณใกล้ขอบยางให้ดี ยางนอกที่ติดมากับจักรยานภูเขาราคาถูกและราคาปานกลาง จะเป็นยางเกรดซ้อมที่ใช้ในการขี่ท่องเที่ยวธรรมดา จะมีขอบเป็นลวดและพับไม่ได้ มีจำนวนเส้นไนล่อนน้อยและห่าง(ระดับ 26 T.P.I.) เนื้อยางหนา จึงมีน้ำหนักมาก และมักจะเติมลมยางได้เพียง 40-55 ปอนด์ หากเติมลมยางตึงมาก ยางนอกจะขยายตัวเกินขนาดเดิม จนยางในอาจรั่วซึมไปจนถึงขั้นปริแตก ส่วนยางชั้นดี จะเป็นยางเกรดแข่งขัน ซึ่งมีขอบเป็นใยสังเคราะห์แบบเหนียวพิเศษ(Kevlar) สามารถพับเก็บได้ มีจำนวนเส้นไนล่อนมากและถี่(ระดับ 60 T.P.I.) เนื้อยางบาง จึงมีน้ำหนักเบา และสามารถเติมลมยางได้ตึงเต็มที่ถึง 85 ปอนด์ และมักจะมีหน้ายางแคบกว่า 2 นิ้ว ยางที่ตึง หน้ายางจะสัมผัสผิวถนนน้อย จึงไม่ค่อยเกิดแรงเสียดทานกับผิวถนน ทำให้ได้ความเร็วเต็มที่ แต่สภาพถนนที่เปียกลื่น ทางลูกรัง และทางดินผิวร่วน ก็ควรปล่อยลมยางออกบ้าง เพื่อให้หน้ายางสัมผัสผิวถนนได้มากขึ้น ส่วนยางนอกที่นิยมใช้กับทางเรียบ คือ ยางสลิก(Slick) ซึ่งหน้ายางจะเรียบไม่มีดอกยาง มีแต่ร่องรีดน้ำตื้นๆไม่กี่ร่อง หน้ายางกว้างประมาณ 1.5 นิ้ว เนื้อยางบาง น้ำหนักเบา มีแรงเสียดทานน้อย จึงให้ความเร็วเพิ่มจนรู้สึกได้ชัดเจน แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในสภาพทางที่เป็น กรวด หิน ดินเหนียว โคลนเลน หรือทราย เพราะล้อจะฟรี และลื่นล้มง่ายมาก นอกจากนี้ยังมี ยางสลิกกึ่งวิบาก(Off Road Slick)รุ่นใหม่ ที่เพิ่งเป็นที่นิยม ซึ่งหน้ายางเรียบ มีเพียงลายกันลื่นเป็นตุ่มเล็กๆ แต่มีดอกยางแบบวิบากอยู่ที่ขอบยางด้านข้าง ซึ่งให้ความเร็วได้ดีกว่ายางวิบาก ทั้งในทางเรียบ และทางดินลูกรัง แต่ประสิทธิภาพในการตะกุยทาง ที่เป็นทรายหนาหรือโคลนเหลว จะต่ำกว่ายางวิบากทั่วไป และเนื่องจากไม่มีร่องดอกยางสำหรับบังคับเลี้ยวโดยตรง ในสภาพทางที่ลื่น จึงต้องใช้เทคนิคและความชำนาญ เข้าช่วยเป็นอย่างมาก ฉนั้น มือใหม่ที่จะหัดใช้ จึงควรเริ่มต้นเฉพาะล้อหลังก่อน และควรเลือกใช้เฉพาะสภาพทางที่เหมาะสม
8. ยางใน (INNERTUBE)
โดย ทั่วไปนั้น มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 145-200 กรัม การเลือกยางใน ก็ควรเลือกที่มีตัวเลขระบุขนาด ที่สามารถขยายตัวได้เท่ายางนอก หากตัวเลขระบุขนาดยางใน น้อยกว่าตัวเลขระบุขนาดยางนอก เมื่อสูบลมยางตึงเต็มที่ ยางในอาจฉีกขาดหรือรั่วซึม ส่วนยางในชนิดพิเศษ(Ultra-Light) ที่ทำจากPOLYURETHANE ซึ่งมีสีเขียวอ่อนนั้น เนื้อยางจะบางและเบามาก มีน้ำหนักเพียง 90 กรัมเท่านั้น และมีราคาแพงกว่า 2-3 เท่าตัว ซึ่งจะเหมาะกับการใช้ในสนามแข่งขัน แต่ไม่ค่อยเหมาะกับจักรยานที่ใช้ขี่ในการท่องเที่ยว หรือใช้ขี่ในชีวิตประจำวัน เพราะมีอัตราการซึม(Leak)สูง ซึ่งจะต้องเติมลมยางบ่อยๆ ทุก 4-5 วัน ควรเลือกยางในที่มีการอัดหัวจุ๊ปลูกศรที่หนาและแน่นพอควร หัวจุ๊ปลูกศรสำหรับเติมลมมี 2 แบบ คือ จุ๊ปเล็ก(French Valve) และ จุ๊ปใหญ่(American Valve) ถ้าเลือกใช้จุ๊ปเล็ก ก็ควรมีหัวต่อ(Adapter) สำหรับใช้กับหัวเติมลมยางรถยนต์ ติดตัวไปพร้อมกับเครื่องมือชุดเล็ก ซึ่งมีที่งัดยาง ชุดปะยาง และสูบลม รวมอยู่ด้วย
9. เบรก (BRAKE)
ตั้งแต่ ปลายปี 1996 เป็นต้นมา V-Brake ได้หลั่งไหลออกสู่ตลาดอย่างมากมาย และเนื่องจาก V-Brake มีก้านเบรกยาว ประกอบกับการออกแบบให้แรงดึงจากสายเบรก(ฺBrake Cable) บีบหัวก้านเบรกจากทางด้านข้าง ซึ่งแรงดึงได้กระทำตรงกับทิศทางที่ก้านเบรกเคลื่อนที่ แรงจากสายเบรกจึงดึงก้านเบรกได้ทั้งหมด โดยไม่มีการสูญเปล่า จึงให้ประสิทธิภาพการเบรกสูงมาก แต่เนื่องจากต้องปรับตั้งหน้าผ้าเบรกของ V-Brake ให้ขนานและห่างขอบล้อเพียงประมาณ 2 ม.ม. เพราะช่วงดึงของมือเบรกสั้น ดังนั้น เมื่อวงล้อคดเพียงเล็กน้อย ก็มักจะเสียดสีกับผ้าเบรก ฉนั้น ในการปรับตั้งสายV-Brake จึงควรใช้มือคลายน็อตหัวมือเบรก ออกประมาณ 5-6 ร่องเกลียว เผื่อไว้เวลาวงล้อเกิดคดกระทันหัน ก็จะยังสามารถใช้มือหมุนน็อตหัวมือเบรกเข้าไปได้อีก 5-6 ร่องเกลียว ซึ่งมีผลเป็นการหย่อนสายเบรกลงอีก 5-6 ม.ม. และเท่ากับว่าสามารถคลายหน้าผ้าเบรก ให้ห่างขอบล้อได้อีกข้างละ 1-2 ม.ม. ส่วนเบรกรุ่นเก่ามีก้านเบรกสั้น แรงดึงจากสายเบรกดึงจากด้านบน แต่ก้านเบรกเคลื่อนที่จากด้านข้าง ซึ่งแรงดึงตั้งฉากกับทิศทางที่ก้านเบรกเคลื่อนที่ แรงบีบจากมือเบรกจึงดึงก้านเบรกได้ไม่ทั้งหมด เพราะมีการสูญเปล่าบางส่วน จึงให้ประสิทธิภาพการเบรกต่ำกว่า V-Brake สำหรับเบรกรุ่นเก่า ควรปรับตั้งหน้าผ้าเบรก ให้ห่างขอบล้อประมาณ 3-4 ม.ม. เพราะช่วงดึงของมือเบรกยาว และให้เปิดด้านหลัง(ท้าย)ของผ้าเบรกออกนิดหน่อย เพราะเวลาบีบมือเบรกแรงๆ ขอบล้อจะลากผ้าเบรกไปด้านหน้าเล็กน้อย ผ้าเบรกก็จะสัมผัสขอบล้อเต็มหน้าผ้าเบรกพอดี เวลาเบรกจะได้ไม่มีเสียงผ้าเบรกดัง และเนื่องจากเบรกรุ่นเก่าตั้งหน้าผ้าเบรก ค่อนข้างห่างจากขอบล้อ ดังนั้น เมื่อวงล้อคดนิดหน่อย จึงไม่ค่อยจะเสียดสีกับผ้าเบรก ฉนั้น ในการปรับตั้งสายเบรกรุ่นเก่า จึงควรคลายน็อตหัวมือเบรก ออกเพียง 2-3 ร่องเกลียวก็พอ และควรตั้งมือเบรก ให้หางมือเบรกชี้ลงจากแนวระนาบประมาณ 45 องศา
10. โช๊คอั๊พ (SHOCK ABSORBER)
. . . . . . . .
ตะ เกียบโช๊คอั๊พหน้า เป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำมาใส่ แทนตะเกียบหน้าของจักรยานภูเขาได้ และเป็นอุปกรณ์ที่แทบจะไม่ทำให้สูญเสียแรงที่เหยียบบันได สำหรับจักรยานภูเขาชนิดธรรมดา มักนิยมใช้ตะเกียบโช๊คอั๊พหน้า ที่มีช่วงยุบตัวได้ตั้งแต่ 1.5, 2, 2.5 ถึง 3 นิ้ว ส่วนจักรยานภูเขาชนิดDOWNHILL ควรใช้ตั้งแต่ 3, 4, 5 ถึง 6 นิ้ว เพราะการกระแทกที่รุนแรงกว่า ทำให้ต้องการช่วงยุบตัวที่มากกว่า นอกจากนี้ จะต้องเลือกให้ตรงกับแบบและขนาดของชุดลูกปืนถ้วยคอ(AheadSet)ที่ท่อหน้าด้วย และมีข้อให้สังเกตุว่า หากโช๊คอั๊พหน้ามีช่วงยุบตัวมาก ก็จะทำให้ท่อบนซึ่งต่อเนื่องอยู่กับท่อหน้า ต้องยกตัวสูงตามไปด้วย และซังตะเกียบโช๊คอั๊พหน้าที่สอดผ่านท่อหน้าโผล่พ้นขึ้นมานั้น สามารถจะตัดให้เหลือสั้นหรือยาว เพื่อตั้งความสูงของคอแฮนด์ได้ด้วย ส่วนโช๊คอั๊พหลังนั้น โดยมากจะติดมากับจักรยานภูเขาชนิดDOWNHILL มีมากมายหลายแบบ และแทบทุกแบบ จะยืดหยุ่นตัวเมื่อใช้เท้าเหยียบบันได จึงมีผลให้แรงที่เหยียบบันไดต้องสูญเปล่าไปประมาณ 3-10 % ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวถังของจักรยาน บวกกับคุณภาพของโช๊คอั๊พหลังแต่ละยี่ห้อ แต่โช๊คอั๊พหลังบางยี่ห้อ มีปุ่มล็อคไม่ให้ทำงาน(ยุบตัว) สำหรับเลือกใช้ในกรณีขี่ทางเรียบ การปรับความอ่อนแข็งของโช๊คอั๊พ ควรปรับตามน้ำหนักตัวของผู้ขี่เป็นหลัก และหากรู้สึกว่าโช๊คอั๊พทำงานผิดปกติ ก็ควรนำไปให้ช่าง ถอดออกมาตรวจสอบ สภาพลูกยาง(Elastomer) หรือซีลยาง(Seal)กันน้ำมันไฮดรอลิค หรือดูว่าแกนคดหรือไม่
11. ตีนผี (REAR DERAILLEUR)
เป็น อุปกรณ์ที่ต้องอาศัยความชำนาญในการปรับแต่ง จึงควรมอบให้เป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญ สำหรับตีนผียี่ห้อShimano เกรด Acera-X ขึ้นไปนั้น ถ้ากดมือเกียร์ไปที่เลข 1 แล้วโซ่ไม่ขึ้นไปที่เฟืองใหญ่สุด หรือเขี่ยมือเกียร์ปลดโซ่ลงไปที่เฟืองเล็กสุดแล้ว เห็นสายเกียร์หย่อน ก็อาจเป็นเพราะสายเกียร์ยืดตัวหรือไม่ตึงพอ ผู้ขี่พอจะแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ โดยการใช้มือหมุนตัวปรับที่ปลายสายเกียร์ด้านท้ายตีนผี ให้คลายออกทีละร่องเกลียว สลับกับกดมือเกียร์ให้ตีนผีทำงานกลับไปกลับมา จนโซ่เปลี่ยนตำแหน่งได้ทุกเฟืองเกียร์ และโซ่ไม่ควรเสียดสีกับเฟืองข้างๆ ถ้าคลายตัวปรับที่ปลายสายเกียร์ด้านท้ายตีนผีออก 7 ร่องเกลียวแล้ว สายเกียร์ยังตึงไม่ได้ที่ ก็ค่อยมาคลายตัวปรับที่ปลายสายเกียร์ด้านหัวมือเกียร์ หากยังไม่ตึงพออีก ก็ควรนำจักรยานไปหาช่างผู้ชำนาญ ส่วนกรณีที่กดมือเกียร์สุดด้านใดด้านหนึ่งแล้ว โซ่ตกออกนอกเฟืองเกียร์ ก็อาจเป็นเพราะน็อตคู่เล็กๆที่ท้ายตีนผี ซึ่งน็อตตัวบน(HIGH) ใช้ขันล็อคช่วงส่ายตัวของตีนผี ไม่ให้ดันโซ่ตกออกนอกเฟืองเล็กสุด(เกียร์สูง) ส่วนน็อตตัวล่าง(LOW) ใช้ขันล็อคไม่ให้ดันโซ่ตกออกนอกเฟืองใหญ่สุด(เกียร์ต่ำ) แต่ห้ามขันแน่นทั้งสองตัว เพราะจะบีบช่วงส่ายตัวของตีนผีให้เหลือแคบ จนตีนผีทำงานไม่ครบทุกเฟืองเกียร์ อนึ่ง ไม่ควรคลายตัวปรับที่หัวสายเกียร์เกิน 7 ร่องเกลียว เพราะอาจจะหักง่าย
12. สับจาน (FRONT DERAILLEUR)
เป็น อุปกรณ์ที่ต้องอาศัยทั้งความเข้าใจ และความชำนาญในการปรับแต่ง มากกว่าอุปกรณ์ตีนผี จึงควรมอบให้เป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญโดยตรง แต่ถ้ากดมือสับจานไปที่เลข 1 แล้วโซ่ไม่ขึ้นไปที่ใบจานใหญ่ หรือเขี่ยมือสับจานไปที่เลข 3 เพื่อปลดโซ่ลงไปที่ใบจานเล็กแล้วเห็นสายสับจานหย่อน ก็อาจเป็นเพราะสายสับจานยืดตัวหรือไม่ตึงพอ ผู้ขี่พอจะแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ โดยการใช้มือหมุนตัวปรับที่หัวมือสับจาน ให้คลายออกทีละร่องเกลียว สลับกับกดมือสับจานให้สับจานทำงานกลับไปกลับมา จนโซ่เปลี่ยนตำแหน่งได้ทุกใบจาน(Chainring) และโซ่ไม่เสียดสีกับสับจาน แต่ถ้าปรับสายสับจานตึงเกินไป สับจานอาจดันโซ่ลงจานเล็กไม่ได้ ส่วนกรณีที่กดมือสับจานสุดด้านใดด้านหนึ่งแล้ว โซ่ตกออกนอกใบจาน ก็อาจเป็นเพราะน็อตคู่เล็กๆบนสับจาน ซึ่งน็อตตัวใน(HIGH) ใช้ขันล็อคช่วงส่ายตัวของสับจาน ไม่ให้ดันโซ่ตกออกนอกใบจานใหญ่(เกียร์สูง) ส่วนน็อตตัวนอก(LOW) ใช้ขันล็อคไม่ให้ดันโซ่ตกออกนอกจานเล็ก(เกียร์ต่ำ) แต่ห้ามขันแน่นทั้งสองตัว เพราะจะบีบช่วงส่ายตัวของสับจานให้เหลือแคบ จนสับจานทำงานไม่ครบทุกใบจาน สำหรับมือใหม่ ไม่ควรใช้ใบจานเล็กกับเฟืองเล็กสุด หรือใบจานใหญ่กับเฟืองใหญ่สุด ส่วนจานกลางก็ไม่ควรใช้กับเฟืองเล็กสุดหรือใหญ่สุด เพราะโซ่จะเบี่ยงตัวมากและยืดเร็ว การสับจานลงจานเล็ก ขณะที่โซ่ด้านท้ายอยู่ในเฟืองเล็ก หากมีการออกแรงเหยียบบันไดอย่างเต็มที่ อาจทำให้โซ่บิดตัวจนขาดได้ง่าย
13. สายเบรก สายเกียร์ สายสับจาน
หาก ใช้มานานๆ อาจมีผงทรายเข้าไปอยู่ในปลอกสาย หรือสายสลิงอาจเป็นสนิมและบาดผนังด้านในของปลอกสาย จนเกิดเป็นร่อง การใช้น้ำมันฉีดล้างปลอกสาย อาจช่วยได้ไม่กี่สัปดาห์ หากไม่ลื่นเหมือนเดิมก็ควรเปลี่ยนใหม่ เพราะราคาไม่แพง
เมื่อ ปรับแต่งแฮนด์และอานจักรยานภูเขา ได้พอดีกับช่วงแขนและขาของผู้ขี่ ก็จะเป็นพาหนะที่ช่วยให้สรีรของผู้เดินทาง อยู่ในท่าที่มีการเกลี่ยน้ำหนักตัวได้ดีกว่าพาหนะใดๆ เพราะมีการถ่ายน้ำหนักตัวไปลงที่ แฮนด์ อาน และบันได อย่างเหมาะสม ทำให้ไม่มีอาการปวดหลัง แทบทุกคนจึงสามารถขี่จักรยานภูเขาได้อย่างมีความสุขตลอดทั้งวัน
<a href="http://astore.amazon.com/bicyclecardsbike.-20"><button>My bicyclecardsbike01Store</button></a>
สำหรับคนที่อยากได้รถคันใหม่ครับเข้าชมต่อได้เลยครับ
ไปกันต่อน่ะครับกับบทความนี้ ผมได้อ่านบทความหนึ่งมาล่ะเห็นว่าน่าสนใจเลยเอามาฝากครับสำหรับคนที่เริ่มอยากเติ่งแสือภูเขาคันโปรดให้ขี่สะบายได้ทั้งวันแบบไม่เหนือยไม่เจ็บตามตัวตามรางกายขี่แล้วเพลินทั้งวัน ไม่ล้า ตามนี้เลยครับผมก็ใช้รูปแบบการแต่งนี้60%ของรถคันโปรดของผมเหมือนกันและหวังว่าคุณก็น่าจะสนใจเช่นกันครับ.....
ก่อน ซื้อจักรยานภูเขามาขี่ เคยนึกว่าจักรยานมีแค่ 2 ล้อ อุปกรณ์ก็น้อย และไม่มีเครื่องยนต์ คงไม่มีปัญหายุ่งยากมากมาย แต่พอซื้อคันแรกมาขี่ไปได้สักพักหนึ่งจึงเริ่มรู้สึกว่า แฮนด์กว้างและไกลมือ เลี้ยววงแคบไม่คล่องตัว ท่อบนค่อนข้างสูง พอใส่โช๊คอั๊พหน้าก็ยิ่งสูงขึ้นอีก อานแข็งกระด้างและติดต้นขาด้านใน ทำให้ปั่นรอบเร็วไม่ถนัด เบรกดัง แม้ปรับหน้าผ้าเบรกให้เสมอแล้วก็ยังดัง ล้อก็คดอยู่เรื่อย เกียร์เปลี่ยนได้เองราวกับว่าเป็นเกียร์อัตโนมัติ ต่อมาเมื่อได้รับคำอธิบายอย่างละเอียด จากช่างจักรยานซึ่งเป็นอดีตนักปั่นระดับชาติท่านหนึ่ง คือ คุณจุมพต กุหลาบแก้ว จึงได้ทราบต้นตอของปัญหา และในที่สุดก็ต้องยอมซื้อคันใหม่ ที่ตัวถังเล็กกว่าเดิม คราวนี้อุปกรณ์ต่างๆ และลูกปืน 4 จุดหลัก คือ ดุมล้อ ชุดกะโหลก ลูกกลิ้งตีนผี และแกนบันได ดีขึ้นกว่าเดิม จึงรู้สึกได้ชัดว่า ทรงตัวดี เลี้ยวคล่อง ปั่นลื่น ท่านั่งถนัด ขี่สบายกว่าเดิมเยอะเลย เมื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อยๆ จนครอบคลุมอุปกรณ์สำคัญของจักรยานทั้งคัน จึงเรียบเรียงเทคนิค การปรับแต่งจักรยานภูเขาสำหรับมือใหม่ มาเล่าสู่กันฟัง
1. ขนาด (SIZE)
โดย ทั่วไปหมายถึง ความยาวของ ท่อนั่ง(Seat Tube) แต่ในยี่ห้อเดียวกันนั้น คันที่มีท่อนั่งยาว จะมีท่อหน้า(Head Tube) ท่อบน(Top Tube) และท่อล่าง(Down Tube) ยาวตามไปด้วยเช่นกัน ตัวถัง(Frame)จักรยานภูเขาแต่ละรุ่น มักจะมีท่อนั่งยาวต่างกันขนาดละ 2 นิ้ว ผู้ขี่บางคนจึงอาจต้องแก้ปัญหาความไม่พอดี ด้วยการปรับเปลี่ยนคอแฮนด์ ให้สั้น-ยาว และมีองศาสูงต่ำที่เหมาะสม ประกอบกับการปรับอานให้สูง-ต่ำ และเลื่อนไปหน้ามาหลัง ให้พอดีกับผู้ขี่ได้ แต่ควรเลือกจักรยานให้มีขนาดตัวถังพอเหมาะ โดยใช้วิธีเข้าไปยืนคร่อมท่อบน สำหรับจักรยานที่มีตะเกียบหน้า(Front Fork)แบบธรรมดา ก็ให้เป้าสูงกว่าท่อบน 2-3 นิ้ว ส่วนตะเกียบหน้าแบบโช๊คอั๊พ ก็ให้เป้าสูงกว่าท่อบน 1-2 นิ้ว ทั้งนี้เพราะโช๊คอั๊พหน้าเผื่อช่วงยุบตัวไว้ ทำให้ท่อบนสูงขึ้นประมาณ 1 นิ้ว ผู้หญิงมีช่วงขายาวกว่าช่วงลำตัวค่อนข้างมาก จึงควรเลือกยี่ห้อหรือรุ่นที่มีท่อบนค่อนข้างสั้น ส่วนผู้ชายนั้นกลับกัน จึงควรเลือกท่อบนที่ค่อนข้างยาว ท่อบนที่ยาวพอดีนั้น ลำตัวผู้ขี่จะโน้มทำมุมกับแนวระนาบประมาณ 50 องศา
2. คอแฮนด์ (STEM)
มี ความยาวให้เลือกหลายขนาด ตั้งแต่ 8 ถึง 15 ซ.ม. และมีมุมเงยจากแนวระนาบให้เลือกอีกหลายมุมองศา ผู้ขี่อาจมีความจำเป็นในการเปลี่ยนคอแฮนด์ ให้มีขนาดยาวขึ้น ในกรณีที่ผู้ขี่มีลำตัวและช่วงแขนยาวมาก หรือขนาดของตัวถังจักรยานเล็กกว่าตัวผู้ขี่ ซึ่งท่อบนจะค่อนข้างสั้น ก็อาจเปลี่ยนคอแฮนด์ให้มีความยาวเพิ่มขึ้นได้ หากแฮนด์สูงมากไป ก็สามารถถอดคอแฮนด์คว่ำกลับหัวลงได้ หากแฮนด์ต่ำไปก็เปลี่ยนคอแฮนด์ใหม่ ให้มีองศาสูงขึ้นได้เช่นกัน คอแฮนด์ที่สั้นจนไม่เหมาะสม กับความยาวช่วงแขนและลำตัวของผู้ขี่ จะทำให้หัวรถมีความไวมาก และบังคับรถยากขึ้น สำหรับจักรยานภูเขาแบบ DOWNHILL จะมีคอแฮนด์สั้นและองศายกสูงขึ้น จนแฮนด์สูงกว่าระดับอาน เพราะต้องชดเชยท่าขี่ขณะลงเขาไม่ให้ก้มหน้ามากเกินไป และเพื่อให้น้ำหนักตัวผู้ขี่ถ่ายมาอยู่ที่ล้อหลังมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการเลี้ยวไม่เข้าโค้ง และไม่ให้ตีลังกาง่ายเกินไปในขณะที่ขี่ลงเขา คอแฮนด์ที่ยาวพอดีนั้น ขณะขี่จะมองเห็นแฮนด์ทับจนล้ำแกนดุมล้อหน้า
3. แฮนด์ (HANDLEBAR)
มี อยู่ 2 แบบ คือ แบบตรง(โค้งนิดหน่อย) ใช้สำหรับเส้นทางที่ไม่มีช่วงลงเขายาวๆ มีความยาวประมาณ 21-23 นิ้ว ซึ่งเท่ากับช่วงไหล่ของชาวตะวันตก จึงควรตัดปลายทั้ง 2 ข้าง ให้เหลือความกว้างเท่ากับช่วงไหล่ของผู้ขี่ ซึ่งเมื่อจับแฮนด์ทั้ง 2 ข้างแล้ว แขนควรอยู่ในลักษณะที่ขนานกัน ถ้าแขนถ่างออกกว้างมาก จะงอข้อศอกยาก และบังคับเลี้ยวไม่คล่องตัว แต่หากแขนหุบแคบจะบังคับรถได้ยาก และหายใจไม่ค่อยเต็มปอด สำหรับผู้หญิงจะมีช่วงไหล่แคบกว่าช่วงสะโพก จึงควรตัดปลายแฮนด์ให้เหลือความยาวพอดีกับช่วงกว้างของสะโพก ส่วนแบบที่ 2 คือ แบบDOWNHILL มีลักษณะคล้ายปีกนก ไม่สามารถตัดปลายได้มากนัก เพราะต้องเหลือความยาวให้พอที่จะติดตั้ง มือเบรก(Brake Lever) มือเกียร์(Shift Lever) และอุปกรณ์ต่างๆ ส่วนการปรับมุมก้มเงยของแฮนด์ ก็ควรหมุนตัวแฮนด์ให้ปลายแฮนด์ทั้ง 2 ข้าง ลู่ชี้ไปทางไหล่ของผู้ขี่ เพื่อที่เวลาใช้มือจับแฮนด์แล้ว ข้อมือจะได้ไม่งอมากจนเกิดอาการชาที่มือ และจุดที่แฮนด์ต่อกับคอแฮนด์ ควรอยู่ต่ำกว่าระดับอานประมาณ 1-4 ซ.ม. ซึ่งยืดหยุ่นตามความยาวของช่วงแขน ถ้าสภาพทางขรุขระ ควรกำแฮนด์จักรยานที่มีตะเกียบแบบธรรมดาเพียงหลวมๆ ส่วนตะเกียบแบบโช๊คอั๊พ จะกำแน่นก็ได้ เมื่อเจอสถานการณ์ทางลงลาดชันที่เป็น ร่องน้ำฝน ดินลื่น หรือ ทราย ควรลดจุดศูนย์ถ่วงลง โดยการยกบั้นท้ายขึ้น แล้วใช้ขาด้านในหนีบหัวอานเบาๆ เพื่อถ่ายน้ำหนักตัวไปอยู่ที่ชุดกะโหลก(Bottom Bracket) ซึ่งเป็นจุดหมุนของชุดจาน(CrankSet) พร้อมกับงอข้อศอกและเข่าเล็กน้อย เพื่อรอซับแรงกระแทก
4. บาร์เอ็น (BAR END)
เป็น อุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งที่ปลายแฮนด์ทั้ง 2 ข้าง มีประโยชน์ในการใช้จับดึงเข้าหาตัว เพื่อให้ถนัดในการเพิ่มแรงเหยียบบันได(Pedal) ขณะที่ปั่นขึ้นเขา หรือเนินชันยาวๆ ควรปรับมุมองศาให้เงยจากแนวระนาบ 10 - 45 องศา ตามความถนัดของผู้ขี่ และยังมีส่วนป้องกันไม่ให้มือหลุดจากแฮนด์
5. อาน (SADDLE)
มี หลากชนิดและหลายแบบ อานเป็นอุปกรณ์แรก ที่อาจสร้างความปวดแสบปวดร้อน ให้แก่ผู้ขี่มือใหม่ ที่ไม่เคยนั่งอานมานานๆ หากไม่แน่ใจว่า ก้นกบจะแตกเป็นแผลหรือไม่ ก็ควรเลือกอานชนิดที่เป็น เจล ซึ่งมีทั้งความหนาและความนุ่ม และเลือกความกว้างของอาน ให้พอเหมาะพอสมกับความกว้างของกระดูกเชิงกราน ซึ่งผู้หญิงมักจะมีช่วงเชิงกรานกว้างกว่าผู้ชาย ส่วนมือเก่าที่ชินอานแล้ว ก็สามารถใช้อานชนิดบางและแคบได้ ซึ่งในขณะที่ปั่นรอบเร็วๆ ส่วนกว้างของอาน จะไม่ติดต้นขาด้านใน ส่วนความเป็นสปริง ก็จะขึ้นอยู่กับแบบของโครงอาน และคุณภาพของก้านรองอาน อานบางรุ่นมีรูปทรงปาดลู่ไปด้านท้าย ซึ่งเหมาะกับจักรยานแบบDOWNHILL หรือจะใช้กับจักรยานภูเขาที่มีการขี่ลงจากที่ชันบ่อยๆ ซึ่งจำเป็นต้องยกบั้นท้ายโยกไปทางล้อหลัง ก็จะสะดวกในการโยกตัวกลับ เพราะต้นขาด้านใน จะไม่ติดท้ายอานแบบปาดลู่ สำหรับการปรับความสูงของหลักอาน(Seat Post)อย่างง่ายๆนั้น ก็ปรับความสูงโดยการขึ้นไปนั่งขี่ แล้ววางส้นเท้าข้างหนึ่งไว้บนบันได ขณะที่บันไดข้างนั้นอยู่ที่ตำแหน่งต่ำสุด แล้วปรับความสูงขึ้นไปจนขาอยู่ในลักษณะยืดตรง ซึ่งเมื่อเลื่อนปลายเท้ามาวางบนบันได ในท่าขี่ปกติ เข่ายังสามารถงอได้ประมาณ 5-10 องศา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้ขี่แต่ละคน แต่ไม่ควรปรับอานสูงจนเข่ายืดตรง เพราะจะเป็นตะคริวได้ง่าย ระดับความก้มเงยของอาน ก็ควรปรับให้ขนานกับพื้น หากชอบปรับอานให้ก้มนิดๆ ก็ไม่ควรปรับให้แนวอานชี้ต่ำกว่าจุดที่แฮนด์ต่อกับคอแฮนด์ ส่วนการปรับเลื่อนอานไปหน้ามาหลังนั้น ควรปรับให้แนวหลักอานอยู่กลางตัวอาน แต่สามารถปรับเลื่อนไปหน้ามาหลังได้อีกเล็กน้อย เพื่อให้อยู่ในท่าขี่ที่ยืดตัวยืดแขนได้ถนัดและมั่นคง มีสิ่งที่พึงสังเกตุว่า ท่านั่งของจักรยานภูเขา ที่ใช้ขี่ในภูมิประเทศที่เป็นทางเรียบเป็นส่วนใหญ่นั้น หากปรับเปลี่ยนคอแฮนด์ให้มีองศาต่ำๆ และยาวกว่าปกติสัก 2 ซ.ม. พร้อมกับปรับเลื่อนอานไปข้างหน้า 2 ซ.ม.เช่นกัน ผู้ขี่ก็จะอยู่ในท่าที่ก้มและโย้ลำตัวไปข้างหน้าอีก 2 ซ.ม. ก็จะคล้ายกับการเพิ่มองศาของท่อนั่งให้ตั้งขึ้น ซึ่งจะใกล้เคียงกับองศาของจักรยาน ที่ใช้สำหรับการแข่งขันนั่นเอง โดยทฤษฎีแล้ว อาจจะได้ความเร็วเพิ่มอีกนิดหน่อย แต่ก็เป็นท่าขี่ ที่อาจก่อให้เกิดความปวดร้าวที่ แขน ไหล่ และคอ ของผู้ขี่ได้เช่นกัน และหากผู้ขี่ไม่เคยฝึก อย่างนักกีฬาจักรยานมาก่อน ก็อาจหายใจได้ไม่ลึกพอ สำหรับภูมิประเทศที่เป็นทางลงเขายาวๆ ควรปรับลดอานลงจนต่ำกว่าแฮนด์ เพื่อชดเชยท่าขี่ขณะลงเขาไม่ให้ก้มหน้ามากเกินไป พร้อมกับปรับเลื่อนอานไปข้างหลัง เพื่อรักษาระยะห่าง ระหว่าง แฮนด์กับอานไม่ให้ชิดเกินไป
6. วงล้อ (RIM) & ซี่ลวด (SPOKE)
วง ล้อมีทั้งแบบชั้นเดียว และ 2 ชั้น ถ้าเป็นอะลูมิเนียมเนื้อดี จะมีตาไก่ที่รูซี่ลวด และมีความแข็งแรง แต่น้ำหนักเบา ถ้าดีขึ้นไปอีก ขอบล้อจะเคลือบด้วยวัสดุที่มีความแข็งเทียบเท่าความแข็งของเซรามิค ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เป็นรอยง่าย และเบรกได้ดีแม้ในสภาพลุยน้ำลุยโคลน วงล้อที่ประกอบมาจากโรงงาน ส่วนใหญ่ใช้เครื่องขันหัวซี่ลวดด้วยแรงลม จึงอาจไม่กลมหรือคดออกข้างนิดหน่อย เวลานำมาประกอบกับ ตัวถัง จักรยาน ก็อาจโย้ไปชิดตะเกียบด้านซ้ายหรือขวามากเกินไป สำหรับล้อที่เป็นวงรีมาก ผ้าเบรกอาจสีกับยางจนขาดทะลุเป็นแผลยาว หากคดออกข้างมากๆ ขอบล้อก็อาจไปเสียดสีกับผ้าเบรกด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งมีผลให้ความเร็วลดลง จึงควรหมั่นตรวจเช็ควงล้อบ่อยๆ หากพบอาการดังกล่าว ให้รีบนำไปให้ช่างปรับแต่งซี่ลวดโดยด่วน ซี่ลวดธรรมดาทำด้วยเหล็กชุบโครเมียม ส่วนซี่ลวดชั้นดีจะทำด้วยสแตนเลส หรือไททาเนียม ซึ่งมีตอนกลางของซี่ลวดเล็กกว่าส่วนปลายทั้ง 2 ข้าง จึงทำให้มีน้ำหนักเบา วงล้อที่ขันหัวซี่ลวดปรับแต่งจนซี่ลวดตึงเท่ากันทั้ง 2 ด้าน จะเกิดความแข็งแรงและไม่คดง่าย
7. ยางนอก (TIRE)
ยาง นอกแบบวิบากของจักรยานภูเขา ที่ใช้กับล้อหน้า โดยทั่วไปมักจะมีดอกยางแตกต่างกับล้อหลัง จึงควรตรวจสอบดูอักษรบอกสภาพทาง และลูกศรชี้ทิศทางหมุน ที่บริเวณใกล้ขอบยางให้ดี ยางนอกที่ติดมากับจักรยานภูเขาราคาถูกและราคาปานกลาง จะเป็นยางเกรดซ้อมที่ใช้ในการขี่ท่องเที่ยวธรรมดา จะมีขอบเป็นลวดและพับไม่ได้ มีจำนวนเส้นไนล่อนน้อยและห่าง(ระดับ 26 T.P.I.) เนื้อยางหนา จึงมีน้ำหนักมาก และมักจะเติมลมยางได้เพียง 40-55 ปอนด์ หากเติมลมยางตึงมาก ยางนอกจะขยายตัวเกินขนาดเดิม จนยางในอาจรั่วซึมไปจนถึงขั้นปริแตก ส่วนยางชั้นดี จะเป็นยางเกรดแข่งขัน ซึ่งมีขอบเป็นใยสังเคราะห์แบบเหนียวพิเศษ(Kevlar) สามารถพับเก็บได้ มีจำนวนเส้นไนล่อนมากและถี่(ระดับ 60 T.P.I.) เนื้อยางบาง จึงมีน้ำหนักเบา และสามารถเติมลมยางได้ตึงเต็มที่ถึง 85 ปอนด์ และมักจะมีหน้ายางแคบกว่า 2 นิ้ว ยางที่ตึง หน้ายางจะสัมผัสผิวถนนน้อย จึงไม่ค่อยเกิดแรงเสียดทานกับผิวถนน ทำให้ได้ความเร็วเต็มที่ แต่สภาพถนนที่เปียกลื่น ทางลูกรัง และทางดินผิวร่วน ก็ควรปล่อยลมยางออกบ้าง เพื่อให้หน้ายางสัมผัสผิวถนนได้มากขึ้น ส่วนยางนอกที่นิยมใช้กับทางเรียบ คือ ยางสลิก(Slick) ซึ่งหน้ายางจะเรียบไม่มีดอกยาง มีแต่ร่องรีดน้ำตื้นๆไม่กี่ร่อง หน้ายางกว้างประมาณ 1.5 นิ้ว เนื้อยางบาง น้ำหนักเบา มีแรงเสียดทานน้อย จึงให้ความเร็วเพิ่มจนรู้สึกได้ชัดเจน แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในสภาพทางที่เป็น กรวด หิน ดินเหนียว โคลนเลน หรือทราย เพราะล้อจะฟรี และลื่นล้มง่ายมาก นอกจากนี้ยังมี ยางสลิกกึ่งวิบาก(Off Road Slick)รุ่นใหม่ ที่เพิ่งเป็นที่นิยม ซึ่งหน้ายางเรียบ มีเพียงลายกันลื่นเป็นตุ่มเล็กๆ แต่มีดอกยางแบบวิบากอยู่ที่ขอบยางด้านข้าง ซึ่งให้ความเร็วได้ดีกว่ายางวิบาก ทั้งในทางเรียบ และทางดินลูกรัง แต่ประสิทธิภาพในการตะกุยทาง ที่เป็นทรายหนาหรือโคลนเหลว จะต่ำกว่ายางวิบากทั่วไป และเนื่องจากไม่มีร่องดอกยางสำหรับบังคับเลี้ยวโดยตรง ในสภาพทางที่ลื่น จึงต้องใช้เทคนิคและความชำนาญ เข้าช่วยเป็นอย่างมาก ฉนั้น มือใหม่ที่จะหัดใช้ จึงควรเริ่มต้นเฉพาะล้อหลังก่อน และควรเลือกใช้เฉพาะสภาพทางที่เหมาะสม
8. ยางใน (INNERTUBE)
โดย ทั่วไปนั้น มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 145-200 กรัม การเลือกยางใน ก็ควรเลือกที่มีตัวเลขระบุขนาด ที่สามารถขยายตัวได้เท่ายางนอก หากตัวเลขระบุขนาดยางใน น้อยกว่าตัวเลขระบุขนาดยางนอก เมื่อสูบลมยางตึงเต็มที่ ยางในอาจฉีกขาดหรือรั่วซึม ส่วนยางในชนิดพิเศษ(Ultra-Light) ที่ทำจากPOLYURETHANE ซึ่งมีสีเขียวอ่อนนั้น เนื้อยางจะบางและเบามาก มีน้ำหนักเพียง 90 กรัมเท่านั้น และมีราคาแพงกว่า 2-3 เท่าตัว ซึ่งจะเหมาะกับการใช้ในสนามแข่งขัน แต่ไม่ค่อยเหมาะกับจักรยานที่ใช้ขี่ในการท่องเที่ยว หรือใช้ขี่ในชีวิตประจำวัน เพราะมีอัตราการซึม(Leak)สูง ซึ่งจะต้องเติมลมยางบ่อยๆ ทุก 4-5 วัน ควรเลือกยางในที่มีการอัดหัวจุ๊ปลูกศรที่หนาและแน่นพอควร หัวจุ๊ปลูกศรสำหรับเติมลมมี 2 แบบ คือ จุ๊ปเล็ก(French Valve) และ จุ๊ปใหญ่(American Valve) ถ้าเลือกใช้จุ๊ปเล็ก ก็ควรมีหัวต่อ(Adapter) สำหรับใช้กับหัวเติมลมยางรถยนต์ ติดตัวไปพร้อมกับเครื่องมือชุดเล็ก ซึ่งมีที่งัดยาง ชุดปะยาง และสูบลม รวมอยู่ด้วย
9. เบรก (BRAKE)
ตั้งแต่ ปลายปี 1996 เป็นต้นมา V-Brake ได้หลั่งไหลออกสู่ตลาดอย่างมากมาย และเนื่องจาก V-Brake มีก้านเบรกยาว ประกอบกับการออกแบบให้แรงดึงจากสายเบรก(ฺBrake Cable) บีบหัวก้านเบรกจากทางด้านข้าง ซึ่งแรงดึงได้กระทำตรงกับทิศทางที่ก้านเบรกเคลื่อนที่ แรงจากสายเบรกจึงดึงก้านเบรกได้ทั้งหมด โดยไม่มีการสูญเปล่า จึงให้ประสิทธิภาพการเบรกสูงมาก แต่เนื่องจากต้องปรับตั้งหน้าผ้าเบรกของ V-Brake ให้ขนานและห่างขอบล้อเพียงประมาณ 2 ม.ม. เพราะช่วงดึงของมือเบรกสั้น ดังนั้น เมื่อวงล้อคดเพียงเล็กน้อย ก็มักจะเสียดสีกับผ้าเบรก ฉนั้น ในการปรับตั้งสายV-Brake จึงควรใช้มือคลายน็อตหัวมือเบรก ออกประมาณ 5-6 ร่องเกลียว เผื่อไว้เวลาวงล้อเกิดคดกระทันหัน ก็จะยังสามารถใช้มือหมุนน็อตหัวมือเบรกเข้าไปได้อีก 5-6 ร่องเกลียว ซึ่งมีผลเป็นการหย่อนสายเบรกลงอีก 5-6 ม.ม. และเท่ากับว่าสามารถคลายหน้าผ้าเบรก ให้ห่างขอบล้อได้อีกข้างละ 1-2 ม.ม. ส่วนเบรกรุ่นเก่ามีก้านเบรกสั้น แรงดึงจากสายเบรกดึงจากด้านบน แต่ก้านเบรกเคลื่อนที่จากด้านข้าง ซึ่งแรงดึงตั้งฉากกับทิศทางที่ก้านเบรกเคลื่อนที่ แรงบีบจากมือเบรกจึงดึงก้านเบรกได้ไม่ทั้งหมด เพราะมีการสูญเปล่าบางส่วน จึงให้ประสิทธิภาพการเบรกต่ำกว่า V-Brake สำหรับเบรกรุ่นเก่า ควรปรับตั้งหน้าผ้าเบรก ให้ห่างขอบล้อประมาณ 3-4 ม.ม. เพราะช่วงดึงของมือเบรกยาว และให้เปิดด้านหลัง(ท้าย)ของผ้าเบรกออกนิดหน่อย เพราะเวลาบีบมือเบรกแรงๆ ขอบล้อจะลากผ้าเบรกไปด้านหน้าเล็กน้อย ผ้าเบรกก็จะสัมผัสขอบล้อเต็มหน้าผ้าเบรกพอดี เวลาเบรกจะได้ไม่มีเสียงผ้าเบรกดัง และเนื่องจากเบรกรุ่นเก่าตั้งหน้าผ้าเบรก ค่อนข้างห่างจากขอบล้อ ดังนั้น เมื่อวงล้อคดนิดหน่อย จึงไม่ค่อยจะเสียดสีกับผ้าเบรก ฉนั้น ในการปรับตั้งสายเบรกรุ่นเก่า จึงควรคลายน็อตหัวมือเบรก ออกเพียง 2-3 ร่องเกลียวก็พอ และควรตั้งมือเบรก ให้หางมือเบรกชี้ลงจากแนวระนาบประมาณ 45 องศา
10. โช๊คอั๊พ (SHOCK ABSORBER)
ตะ เกียบโช๊คอั๊พหน้า เป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำมาใส่ แทนตะเกียบหน้าของจักรยานภูเขาได้ และเป็นอุปกรณ์ที่แทบจะไม่ทำให้สูญเสียแรงที่เหยียบบันได สำหรับจักรยานภูเขาชนิดธรรมดา มักนิยมใช้ตะเกียบโช๊คอั๊พหน้า ที่มีช่วงยุบตัวได้ตั้งแต่ 1.5, 2, 2.5 ถึง 3 นิ้ว ส่วนจักรยานภูเขาชนิดDOWNHILL ควรใช้ตั้งแต่ 3, 4, 5 ถึง 6 นิ้ว เพราะการกระแทกที่รุนแรงกว่า ทำให้ต้องการช่วงยุบตัวที่มากกว่า นอกจากนี้ จะต้องเลือกให้ตรงกับแบบและขนาดของชุดลูกปืนถ้วยคอ(AheadSet)ที่ท่อหน้าด้วย และมีข้อให้สังเกตุว่า หากโช๊คอั๊พหน้ามีช่วงยุบตัวมาก ก็จะทำให้ท่อบนซึ่งต่อเนื่องอยู่กับท่อหน้า ต้องยกตัวสูงตามไปด้วย และซังตะเกียบโช๊คอั๊พหน้าที่สอดผ่านท่อหน้าโผล่พ้นขึ้นมานั้น สามารถจะตัดให้เหลือสั้นหรือยาว เพื่อตั้งความสูงของคอแฮนด์ได้ด้วย ส่วนโช๊คอั๊พหลังนั้น โดยมากจะติดมากับจักรยานภูเขาชนิดDOWNHILL มีมากมายหลายแบบ และแทบทุกแบบ จะยืดหยุ่นตัวเมื่อใช้เท้าเหยียบบันได จึงมีผลให้แรงที่เหยียบบันไดต้องสูญเปล่าไปประมาณ 3-10 % ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวถังของจักรยาน บวกกับคุณภาพของโช๊คอั๊พหลังแต่ละยี่ห้อ แต่โช๊คอั๊พหลังบางยี่ห้อ มีปุ่มล็อคไม่ให้ทำงาน(ยุบตัว) สำหรับเลือกใช้ในกรณีขี่ทางเรียบ การปรับความอ่อนแข็งของโช๊คอั๊พ ควรปรับตามน้ำหนักตัวของผู้ขี่เป็นหลัก และหากรู้สึกว่าโช๊คอั๊พทำงานผิดปกติ ก็ควรนำไปให้ช่าง ถอดออกมาตรวจสอบ สภาพลูกยาง(Elastomer) หรือซีลยาง(Seal)กันน้ำมันไฮดรอลิค หรือดูว่าแกนคดหรือไม่
11. ตีนผี (REAR DERAILLEUR)
เป็น อุปกรณ์ที่ต้องอาศัยความชำนาญในการปรับแต่ง จึงควรมอบให้เป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญ สำหรับตีนผียี่ห้อShimano เกรด Acera-X ขึ้นไปนั้น ถ้ากดมือเกียร์ไปที่เลข 1 แล้วโซ่ไม่ขึ้นไปที่เฟืองใหญ่สุด หรือเขี่ยมือเกียร์ปลดโซ่ลงไปที่เฟืองเล็กสุดแล้ว เห็นสายเกียร์หย่อน ก็อาจเป็นเพราะสายเกียร์ยืดตัวหรือไม่ตึงพอ ผู้ขี่พอจะแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ โดยการใช้มือหมุนตัวปรับที่ปลายสายเกียร์ด้านท้ายตีนผี ให้คลายออกทีละร่องเกลียว สลับกับกดมือเกียร์ให้ตีนผีทำงานกลับไปกลับมา จนโซ่เปลี่ยนตำแหน่งได้ทุกเฟืองเกียร์ และโซ่ไม่ควรเสียดสีกับเฟืองข้างๆ ถ้าคลายตัวปรับที่ปลายสายเกียร์ด้านท้ายตีนผีออก 7 ร่องเกลียวแล้ว สายเกียร์ยังตึงไม่ได้ที่ ก็ค่อยมาคลายตัวปรับที่ปลายสายเกียร์ด้านหัวมือเกียร์ หากยังไม่ตึงพออีก ก็ควรนำจักรยานไปหาช่างผู้ชำนาญ ส่วนกรณีที่กดมือเกียร์สุดด้านใดด้านหนึ่งแล้ว โซ่ตกออกนอกเฟืองเกียร์ ก็อาจเป็นเพราะน็อตคู่เล็กๆที่ท้ายตีนผี ซึ่งน็อตตัวบน(HIGH) ใช้ขันล็อคช่วงส่ายตัวของตีนผี ไม่ให้ดันโซ่ตกออกนอกเฟืองเล็กสุด(เกียร์สูง) ส่วนน็อตตัวล่าง(LOW) ใช้ขันล็อคไม่ให้ดันโซ่ตกออกนอกเฟืองใหญ่สุด(เกียร์ต่ำ) แต่ห้ามขันแน่นทั้งสองตัว เพราะจะบีบช่วงส่ายตัวของตีนผีให้เหลือแคบ จนตีนผีทำงานไม่ครบทุกเฟืองเกียร์ อนึ่ง ไม่ควรคลายตัวปรับที่หัวสายเกียร์เกิน 7 ร่องเกลียว เพราะอาจจะหักง่าย
12. สับจาน (FRONT DERAILLEUR)
เป็น อุปกรณ์ที่ต้องอาศัยทั้งความเข้าใจ และความชำนาญในการปรับแต่ง มากกว่าอุปกรณ์ตีนผี จึงควรมอบให้เป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญโดยตรง แต่ถ้ากดมือสับจานไปที่เลข 1 แล้วโซ่ไม่ขึ้นไปที่ใบจานใหญ่ หรือเขี่ยมือสับจานไปที่เลข 3 เพื่อปลดโซ่ลงไปที่ใบจานเล็กแล้วเห็นสายสับจานหย่อน ก็อาจเป็นเพราะสายสับจานยืดตัวหรือไม่ตึงพอ ผู้ขี่พอจะแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ โดยการใช้มือหมุนตัวปรับที่หัวมือสับจาน ให้คลายออกทีละร่องเกลียว สลับกับกดมือสับจานให้สับจานทำงานกลับไปกลับมา จนโซ่เปลี่ยนตำแหน่งได้ทุกใบจาน(Chainring) และโซ่ไม่เสียดสีกับสับจาน แต่ถ้าปรับสายสับจานตึงเกินไป สับจานอาจดันโซ่ลงจานเล็กไม่ได้ ส่วนกรณีที่กดมือสับจานสุดด้านใดด้านหนึ่งแล้ว โซ่ตกออกนอกใบจาน ก็อาจเป็นเพราะน็อตคู่เล็กๆบนสับจาน ซึ่งน็อตตัวใน(HIGH) ใช้ขันล็อคช่วงส่ายตัวของสับจาน ไม่ให้ดันโซ่ตกออกนอกใบจานใหญ่(เกียร์สูง) ส่วนน็อตตัวนอก(LOW) ใช้ขันล็อคไม่ให้ดันโซ่ตกออกนอกจานเล็ก(เกียร์ต่ำ) แต่ห้ามขันแน่นทั้งสองตัว เพราะจะบีบช่วงส่ายตัวของสับจานให้เหลือแคบ จนสับจานทำงานไม่ครบทุกใบจาน สำหรับมือใหม่ ไม่ควรใช้ใบจานเล็กกับเฟืองเล็กสุด หรือใบจานใหญ่กับเฟืองใหญ่สุด ส่วนจานกลางก็ไม่ควรใช้กับเฟืองเล็กสุดหรือใหญ่สุด เพราะโซ่จะเบี่ยงตัวมากและยืดเร็ว การสับจานลงจานเล็ก ขณะที่โซ่ด้านท้ายอยู่ในเฟืองเล็ก หากมีการออกแรงเหยียบบันไดอย่างเต็มที่ อาจทำให้โซ่บิดตัวจนขาดได้ง่าย
13. สายเบรก สายเกียร์ สายสับจาน
หาก ใช้มานานๆ อาจมีผงทรายเข้าไปอยู่ในปลอกสาย หรือสายสลิงอาจเป็นสนิมและบาดผนังด้านในของปลอกสาย จนเกิดเป็นร่อง การใช้น้ำมันฉีดล้างปลอกสาย อาจช่วยได้ไม่กี่สัปดาห์ หากไม่ลื่นเหมือนเดิมก็ควรเปลี่ยนใหม่ เพราะราคาไม่แพง
เมื่อ ปรับแต่งแฮนด์และอานจักรยานภูเขา ได้พอดีกับช่วงแขนและขาของผู้ขี่ ก็จะเป็นพาหนะที่ช่วยให้สรีรของผู้เดินทาง อยู่ในท่าที่มีการเกลี่ยน้ำหนักตัวได้ดีกว่าพาหนะใดๆ เพราะมีการถ่ายน้ำหนักตัวไปลงที่ แฮนด์ อาน และบันได อย่างเหมาะสม ทำให้ไม่มีอาการปวดหลัง แทบทุกคนจึงสามารถขี่จักรยานภูเขาได้อย่างมีความสุขตลอดทั้งวัน
<a href="http://astore.amazon.com/bicyclecardsbike.-20"><button>My bicyclecardsbike01Store</button></a>
สำหรับคนที่อยากได้รถคันใหม่ครับเข้าชมต่อได้เลยครับ
การเลือกซื้อจักรยานเสือภูเขาสำหรับผู้หญิง
ทำไมจะต้องซื้อเสือภูเขาสำหรับผู้หญิง?
แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้มีบริษัทผู้ผลิตจักรยานหลายยี่ห้อได้เอาใจ ผู้หญิงมากขึ้น เช่น Trekได้ผลิตจักรยานในรุ่นWSD(Woman's Specific Design), BMC Velvet VL01 Womens Mountain โดยออกแบบ รถให้มีลักษณะสอดคล้องกับสรีระของผู้หญิงมากที่สุด
ขนาดไซส์รถจักรยานเสือภูเขาที่เหมาะสมกับผู้หญิง คือ ไซส์ 13,14,15,16 หรือไซส์ XS, S หรือวัดจากความสูงครับ เช่น ไซส์ 13-14 จะเหมาะกับผู้หญิงที่สูง 148-158 ซม, ไซส์ 15-16 จะเหมาะกับผู้หญิงที่สูงระหว่าง 158-168 ดังนั้น หากผู้หญิงคนไหนที่สูง 168-178 ก็จะใช้จักรยานไซส์ 17-18 หรือไซส์ M แต่ผมแนะนำแค่ไซส์ 13 ถึง 16 เพราะสรุปจากความสูงของผู้หญิงไทย ที่ส่วนใหญ่มีความสูงไม่เกิน 165 ครับ
BMC Velvet VL01 Womens Mountain |
ส่วนรถที่ออกแบบมาสำหรับผู้หญิงนั้น หรืออาจจะมีการปรับปรุงภายหลังก็ได้ครับ ส่วนใหญ่จะนำมาปรับให้สั้นลงกว่าเดิม คือ
- ท่อบนสั้น มุมท่อคอมีความลาดเอียงมากขึ้น
- คอจะสั้นและเชิด ร่วมกับเพิ่มความยาวของท่อคอ ( เพื่อเพิ่มความสูงของแฮนด์ ) ทั้งนี้เพื่อเป็นการชดเชยช่วงแขนที่สั้น ทำให้ผู้หญิงสามารถเอื้อมจับแฮนด์ได้สะดวกขึ้น
- มุมท่อนั่งที่ชันขึ้น ทำให้การถีบบันไดสะดวกขึ้น
- ทำปลอกแฮนด์บาง เพื่อให้สามารถกำได้สะดวก
- ลดความกว้างของแฮนด์ลงมาเพื่อรับกับช่วงไหล่ที่แคบ
- ให้เบาะที่กว้างและนุ่มเพื่อสะโพกที่กว้าง เป็นต้น
จักรยานเสือภูเขาไซต์เล็กสำหรับผู้หญิง ในปี 2013 (ไซส์ 13-14)
Jamis Trail X2
- เฟรม : อลูมิเนียม 6061 aluminum main tubes, over-sized seat tube
- โช๊คหน้า : RST Gila-T, alloy crown & lowers, MCU/coil spring ช่วงยุบ 100 มม.
- ถ้วยคอ : VP threadless, 1 1/8”
- ล้อ : Alex TD25 double-wall disc-specific rims
- ยาง : Jamis TX, 26 x 1.95”
- ตีนผี : Shimano Acera M360 rear and M190 34.9 mm
- มือเกียร์ : Shimano Acera ST-EF51, 8-speed
- โซ่ : KMC HG40
- เฟืองหลัง : Shimano HG30, 8-speed, 11-32
- ชุดจานหน้า : SR Suntour XCC-T102 alloy crank arms, 42/34/24 rings,
- กระโหลก : Set Sealed cartridge, 68 x 122.5mm
- บันได : ATB platform, hi-impact resin cage & body
- เบรค : Tektro mechanical disc brakes with 6" rotors and Shi-mano levers
- แฮนด์ : Jamis XC riser, 6˚ sweep x 13mm rise x 620mm
- คอแฮนด์ : Jamis XC alloy threadless,
- มือจับ : Kraton for trigger-shift
- หลักอาน : Jamis OS alloy micro-adjust, 31.6 x 350mm with alloy QR clamp
- อาน : Jamis ATB Sport with pressure relief channel, SL cover,
- ขนาด : 13”, 15”, 17”, 19”
- ราคาเริ่มต้นประมาณ -.บาท
Jamis Trail X1
รายการละเอียด
- เฟรม อลูมิเนียม 6061แบบ over-sized seat tube,
- โช๊คหน้า : RST Gila-T,ช่วงยุบ 80 มม.
- ถ้วยคอ : VP threadless, sealed, 1 1/8”
- ล้อ : Alex C1000 alloy rims, 36H,
- ยาง : Jamis TX, 26 x 1.95”
- ตีนผี : Shimano Tourney TX-55 rear and TX51 34.9mm top pull front
- มือเกียร์ : Shimano Acera ST-EF51, 7-speed
- โซ่ : KMC Z51
- เฟืองหลัง : Shimano TZ31, 7-speed, 14-34
- ชุดจานหน้า : Forged alloy crank, 42/34/24 steel rings, 170mm
- กระโหลก : BB Set Sealed cartridge, 68 x 122.5mm
- บันได : ATB platform, hi-impact resin cage & body
- ชุดเบรค : Alloy linear pull type with Shimano alloy levers
- แฮนด์ : Jamis XC riser, 6˚ sweep x 13mm rise x 620mm
- คอแฮนด์ : Jamis XC threadless with alloy cap, 10˚ rise x 90mm
- มือจับ : Kraton for trigger-shift
- หลักอาน : Jamis OS alloy micro-adjust, 31.6 x 350mm with alloy QR clamp
- อาน : Jamis ATB Sport with pressure relief channel, SL cover,
- ขนาด : 13”, 15”, 17”, 19”
- ราคาเริ่มต้นประมาณ - บาท
นี่คือเบาะนั่งสำหรับผู้หญิงครับ
สังเกตุจะเห็นว่าขนาดของเบาะจะมีความกว้างมากกว่าเบาะของผู้ชายแล้วก็จะนุ่ม
กว่า นั่งสบายกว่าด้วยครับ
แน่ะนำได้แต่ราคาต้องสรรหากันเองน่ะครับ..เดียวจะว่าขายของอิอิอิอิไม่ได้มาขายของครับแค่มาเดินเล่น
สนใจรุ่นนี้ถามได้ครับเอาเอาลิ้งมาให้ ตอนแรกว่าจะไม่ขายล่ะน่ะเกิดอยากขายซะงั้นอิอิอิอิttp://astore.amazon.com/bicyclecardsbike.-20/detail/B009ETSWKI ตามลิ้งนี้ครับอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเอาเองน่ะครับผมอ่านไม่ออกหุหุหุหุหุหุหุุ
เทคนิคการเปลี่ยนเกียร์อย่างมีประสิทธิภาพ(How to Effectively Shift Your Bike's Gears)
การเปลี่ยนเกียร์อย่างมีประสิทธิภาพควรทำอย่างไร?
ไม่เพียงเฉพาะผู้เริ่มต้น แต่ผู้ที่ปั่นจักรยาน MTB มานาน บางครั้งก็ยังมีการเปลี่ยนเกียร์ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้ชุดเกียร์สึกหรอเร็วกว่าที่ควรจะเป็น
เทคนิคพื้นฐานของการเปลี่ยนเกียร์ที่ถูกต้อง
ปัจจัยพื้นฐาน: วัตถุประสงค์หลักของเกียร์คือ การทำให้จักรยานง่ายต่อการขึ้นเขา หรือไต่ไปบนที่สูง หรือแม้กระทั่งง่ายต่อการปั่นของคุณ สิ่งสำคัญที่ควรจะทำก็คือ รักษาระดับในการปั่นหรือเปลี่ยนระดับไม่ตามสภาพอากาศ หรือบรรยากาศรอบๆข้างของคุณขั้นตอนแรก: คุณควรเปลี่ยนเกียร์ขณะที่คุณกำลังปั่นจักรยาน ขั้นตอนนี้จะเหมือนเป็นสั่งให้โซ่เคลื่อนที่ไปยัง สับจานหน้า (Front derailleur) หรือเฟื่องหน้าไปเฟื่องหลัง (Rear derailleur) ดังนั้นมันจึงเป็นวิธีที่ผิดหากคุณเปลี่ยนเกียร์ในขณะที่รถจักรยานยังไม่ออก ตัว และมันจะส่งผลทำให้สายเกียร์ยืดทันที่ที่คุณเปลี่ยนเกียร์เมื่อคุณจะออก สตาร์ทอีกครั้ง
กลับมาสู่เทคนิคการเปลี่ยนเกียร์
1. เปลี่ยนเกียร์ในขณะจ้วงเร็วๆ หรือก้าวเร็วจะง่ายกว่าขณะที่คุณปั่นช้าๆ เพราะจะทำให้ชุดเกียร์หนักขึ้น คุณจะใช้กำลังกายมากขึ้นในการปั่นจักรยาน เทคนิคนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อของคุณ และสามารถปั่นจักรยานได้เป็นระยะเวลานานขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณสามารถจะเร่งความเร็ว หรือกระโดดได้ดี2. สิ่งสำคัญที่สุดคือ แบ่งเบาลดความดันให้กับคันเหยียบจักรยาน การลดน้ำหนักความดันบนคันเหยียบจะช่วยให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นขณะที่ เปลี่ยนเกียร์ หรือพยายามลดเสียงรบกวนขณะที่คุณเปลี่ยนเกียร์ให้ลดน้อยลง สิ่งเหล่านี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้แก่ระบบเกียร์ของคุณ
3. ใช้เกียร์ต่ำที่มีหมายเลขที่อยู่ทางซ้ายกับเกียร์ของคุณต่ำเลขที่อยู่ด้าน ขวา และใช้หมายเลขที่สูงให้ตรงกับหมายเลขที่สูงอีกข้างหนึ่ง ดังนั้นหากคุณอยู่ในจำนวนเกียร์หนึ่งอยู่ทางซ้ายมือคุณควรใช้เกียร์ที่มี หมายเลขหนึ่งถึงสี่ด้านขวา ในทำนองเดียวกันถ้าคุณอยู่ในเกียร์สามที่อยู่ทางซ้าย คุณควรใช้กับตัวเลขเกียร์ห้าขึ้นไปทางด้านขวา
เคล็ดลับนี้จะทำอย่างไรกับสายโซ่ แม้ว่าจะไม่เกิดความเสียหายจริง ซึ่งเป็นการทำโดยใช้เกียร์ผิดร่วมกัน แต่คุณก็ควรจะหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ทำให้เกิดเสียงหรือการสั่นกับระบบเกียร์ อย่างที่คุณได้ยิน จำนวนของเกียร์ที่มากับจักรยานของวันนี้ คุณสามารถหลีกเลี่ยง "การผสมเกียร์สูงและต่ำของคุณ" และยังพบว่า สะดวกกับการเปลี่ยนเกียร์ในขณะที่ปั่นจักรยาน
หลีกเลี่ยงการทำงานเฟืองขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านหน้ากับเฟืองขนาดใหญ่ด้านหลัง ทำนองเดียวกันหลีกเลี่ยงการใช้เฟืองเล็กด้านหน้ากับเฟืองเล็กด้านหลัง คือ ไม่ควรใช้โซ่ให้บิดกันในเฟืองหน้าและหลัง
4. อย่าลืมเปลี่ยนกลับไปเป็นเกียร์ต่ำก่อนที่จะหยุดเพื่อที่คุณจะอยู่ในเกียร์ได้ง่ายสำหรับการเริ่มต้นออกมาอีกครั้ง
เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้คุณเปลี่ยนเกียร์ได้ง่ายขึ้น เช่นการเปลี่ยนเกียร์ไปเป็นเกียร์ต่ำ และเมื่อถึงเวลาที่ต้องกำลังในการปั่นมากขึ้น เช่นขึ้นเขาและเปลี่ยนเกียร์ไปเป็นเกียร์สูง การเปลี่ยนเกียร์นี้จะช่วยให้คุณขึ้นเขาได้ง่ายขึ้นและช่วยให้คุณปั่นได้ ง่ายขึ้นเช่นกัน ค่อยศึกษาครับไม่มีใครเป็นมาตั้งแต่เกิดครับอ่านคู่มือให้ละเอียดด้วยน่ะครับเดียวพังมาจะไม่คุ้มครับ
วิธีการเลือกซื้อรถจักรยานเสือภูเขา
การเลือกซื้อรถจักรยานเสือภูเขาสำหรับมือใหม่
สำหรับมือใหม่ที่สนใจจักรยานเสือภูเขาคงจะไม่เข้าใจหรือหาข้อมูลในการช่วย ตัดสินใจในการซื้อจักรยานคันแรกไม่ค่อยได้. บทความแรกของเราจะนำเสนอคู่มือในการเลือกซื้อเสือภูเขาเท่ห์ๆสักคัน ซึ่งในบทความจะประกอบไปด้วย หลักการเลือกซื้อ และอุปกรณ์ที่มือใหม่ควรจะทราบ เริ่มกันเลยดีกว่า
1. กำหนดงบประมาณที่แน่ชัด.
คุณควรจะกำหนดงบประมาณในการซื้อรถจักรยานเสือภูเขาไว้ในใจ เพื่อที่คุณจะได้ควบคุมค่าใช้จ่ายบวกลบเวลาที่เข้าไปเลือกซื้อจริงๆ ทั้งหมดนี้รวมถึงราคาอุปกรณ์ต่างๆที่อาจจะต้องซื้อเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงตาม ความต้องการของคุณ ควรเลือกซื้อกับร้านค้าที่ใกล้บ้านของคุณก่อน ก่อนที่เลือกซื้อกับร้านค้าออนไลน์หรือสโตร์ใหญ่ๆทั่วไป เพราะว่าร้านค้าเหล่านี้จะมีส่วนลดหรือราคาที่ถูกกว่า อีกประการหนึ่งคุณสามารถต่อรองราคาได้ และสามารถสั่งเพิ่มเติมหรืออัพเกรด เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ได้ หากเลือกซื้อจากร้านสโตร์ เช่น ห้างสรรรพสินค้า คุณจะไม่สามารถเลือกต่อรองราคาที่สมเหตุสมผลได้เลย
2. เลือกสไตล์ที่คุณต้องการ
จักรยานเสือภูเขาถูกออกแบบบมาเพื่อใช้งานหลายชนิดแตกต่างกัน คุณจะต้องค้นหาสไตล์ไหน การขับขี่แบบไหนที่ถูกใจคุณมากที่สุด เช่น แบบทางเรียบ (smooth trail riding), ครอส-โรด (Cross-road), แบบวิบาก ขึ้น-ลงเขา (all mountain cruising) เพราะว่าราคาของจักรยานจะแตกต่างไปตามประเภทการใช้งาน และเพือความคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
3. ระบบช็อค-อัพ แบบเต็มรูปแบบ (Full suspension) หรือว่า แค่ช็อคหลัง (Hardtail)
เราแนะนำว่า ให้คุณเลือกซื้อแบบรูปแบบ คือมีช็อคอัพ ทั้งด้านหน้า-หลัง ถ้าหากว่าคุณมีงบประมาณเพียงพอที่จะซื้อได้ มันช่วยให้คุณบังคับรถได้ง่ายและสบายกว่า แบบ ช็อคด้านหลัง เพืยงอย่างเดียว ระบบช็อคเดียว (Hardtail) อาจจะมีน้ำหนักเบา ขับขี่ได้คล่อง แต่ว่าในความคิดของเรามันก็ยังสู้แบบ ช็อคหน้า-หลังไม่ได้อยู่ดี
4. ระบบเบรคแบบ ดิสก์เบรค (Disc brakes) หรือ แบบก้ามปู (Rim brake) ดี?
ดิสก์เบรค (Disc brakes) มีประสิทธิภาพดีมากกว่าเบรคแบบก้ามปู (Rim brake) ไม่ต้องการการดูแลมาก ซึ่งเบรคแบบก้ามปูจะมีข้อบกพร่อง หรือทำงานได้ไม่ดีพอในสภาพเปียกน้ำ หรือเต็มไปด้วยโคลน แต่มีข้อดีตรงที่น้ำหนักเบา
แต่อย่างไรก็ตาม, ดิสก์เบรค มักจะมีน้ำหนักมากกว่า เบรคก้ามปู ประมาณ 150-350 กรัม ขึ้นอยู่กับ ขนาดล้อ, ขอบ, ฮับและระบบดิสก์เบรคที่คุณเลือก นอกจาก หากคุณต้องการเปลี่ยนจากระบบเบรคหนึ่ง ไปยังระบบเบรคหนึ่ง คุณจะต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งเซต เพราะระบบเบรคแต่ละประเภทจะไม่รองรับล้อ หรือขอบล้อของเบรคอีกประเภทหนึ่ง ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจซื้อควรตัดสินใจให้แน่นอนว่าต้องการเบรคแบบไหน
5. สปีด หรือ ระดับเกียร์
ปัจจุบันนี้มีเกียร์มากมายหลายสปีด ซึ่งจริงๆแล้ว ผู้ขับขี่จักรยานมักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ถึงคุณจะมีจักรยาน 24-27 สปีด คุณจะใช้มันไม่ครบ อาจจะใช้ได้เพียง 15-16 อัตราทดเท่านั้น ซึ่งการขับขี่ก็จะต้องมีเทคนิคด้วย ผู้ขับขี้จะต้องรู้ว่า ตอนนี้ตนใช้เกียร์ใดหรือแถวโซ่อยู่ด้านใด การเปลี่ยนเกียร์จากหน้าไปในสุด หรือจากจานหน้าใหญ่สุด ไปหลังใหญ่สุด จะเสียงต่อขาตีนผีถูกบิดจนโก่งงอ นอกเรื่องไปมากแล้ว กลับมาระบบเกี่ยร์ที่คุณควรจะเลือกซื้อต่อ จากรายละเอียดข้างบน คุณต้องการสปีดเท่าไหร่ แบบไหน อยู่ในงบหรือไม่ ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมกับความต้องการของคุณ
6. ทดลองขี่
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนการจะเลือกจักรยานคู่ใจ ก็ควรจะทดสอบว่า มันเหมาะกับความต้องการของคุณหรือไม่ เบรคเป็นอย่างไร ขณะปั่นถูกใจหรือไม่ คุณสามารถทดสอบได้ด้วยตัวของคุณเอง
จบลงแล้วสำหรับการเลือกซื้อรถจักรยานเสือภูเขา
ไม่ว่าจะแบบไหนรุ่นไหนดีหมดครับอยู่ที่เรามากกว่าว่าชอบแบบไหนและกำลังทรัพย์พอแค่ไหนบางยี่ห้อบางรุ่นก้อโค-ตะระแพง(แสนแพง)เอาเป็นว่าตามกำลังทรัพของเราล่ะกันครับ ซื้อแล้วไม่เดือดร้อนซื้อไปเถอะแต่ถ้าหาที่ซื้อไม่ได้บอกผม ครับ...
มือใหม่กับการปั่นจักรยานเสือภูเขา
วิธีแก้เมื่อปั่นจักรยานเสือภูเขาแล้วเกิดการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ปั่นจักรยานเสือภูเขาแล้วรู้สึกปวดขา หรือเข่า
หากคุณเป็นมือใหม่ที่เพิ่งหัดปั่นจักรยานเสือภูเขา สิ่งที่คุณจะพบแน่นอนคือ อาการปวดขา หรือกล้ามเนื้อทุกส่วนบริเวณขา เช่น ต้นขา หรือ อาจจะเป็นน่อง หรือ หัวเข่าสาเหตุนี้ไม่ได้เกิดมาจากคุณเลือกรถไม่ดี หรือไม่ตรงกับสัดส่วนร่างกายของคุณแต่อย่างใด แต่เกิดจากการปรับเซ็ทอุปกรณ์ต่างๆของรถยังไม่เข้ากันกับร่างกายของคุณ เช่น อานรถอาจจะสูงไป หรือ ต่ำไป, แฮนด์รถอาจจะกว้างไป หรือสั้นไป ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบที่จะส่งผลต่อการปั่นจักรยานของคุณ
คำแนะนำ
ให้คุณปรับระดับของเบาะ หรือ อานรถใหม่ เป็นความเชื่อที่ผิดที่คุณจะคิดการปรับอานให้สูงจนเกินไปจะทำให้คุณมีวงสวิง ในการปั่นมากขึ้น เพราะมันก่อให้เกิดแรงตึงที่เข่า เมื่อปั่นไปนานๆอาการปวดเหล่านี้จะแสดงอาการ การปรับอานจะลองเพิ่มสัก 0.5 เซน แล้วลองปั่นดูครับว่าเหมาะหรือยัง
การปรับอานเมื่อสูงเกินไป ขาจะเหยียดมากขึ้น ทำให้ผู้ปั่นต้องออกแรงมากขึ้น, การปรับอานต่ำเกินไป ทำให้ขณะที่ปั่นจักรยานจะรู้สึกเมื่อยกว่าที่ควร เพราะการเหยียดขาไม่พอดี
หลีกเลี่ยงการใช้เกียร์หนัก การออกแรงฝืนแรงต้านของเกียร์มากเกินไป ก็ไม่ผลดีต่อการปั่นจักรยาน(จานหน้า 2 จานหลัง 3,4 )
ดังนั้นมือใหม่จึงควรจะเน้นการปั่นแบบสบาย เพื่อให้ร่างกายปรับสมดุลให้เข้ากับรถได้ดีที่สุด คล้ายกับผ่านช่วงรันอินไปแล้ว คุณสามารถอัดได้เต็มที่อย่างที่ใจคุณค้องการ แต่ก่อนปั่นจักรยานทุกครั้งไม่ควรจะลืมการวอร์มอัพร่างกายนะครับ
ปั่นจักรยานเสือภูเขาแล้วรู้สึกปวดหลัง
ผมก็เคยประสบกับปัญหานี้ครับคิดว่าทุกคนคงจะเคยพบ และได้มีผู้มีประสบการณ์แนะนำไว้แบบนี้ครับ คือปรับระยะห่างของอานกับคออานครับ โดยระยะห่างของเบาะกับอานนั้นจะเท่ากับระยะท่อนแขนที่กำมือพอดี งงหรือเปล่า คือให้เรากำมือแล้วไปวัดระยะ โดยให้ข้อศอกชนกับปลายอาน แล้วสันนิ้วชนกับคอ ก็จะได้ระยะที่พอดี ผมทำแล้วหายเลย แถมไม่เมื่อยก้นด้วย เพราะว่าก้นเราจะนั่งได้เต็มพอดี แถมเบาะยังนวดก้นสบายอีกต่างหาก ที่เหลือก็ไปปรับระยะสูง-ต่ำ ของแฮนด์อีกทีนอกจากนี้ เบาะไม่ควรจะปรับให้เงย หรือไปหน้า ไปหลังมากเกินไปครับ ควรจะให้ขนานกับพื้นดีที่สุด ตามสูตรแล้ว เบาะควรจะสูงกว่าแฮนด์ประมาณ 2 นิ้ว (อาจจไม่เป๊ะขนาดนี้ก็ได้นะครับ แต่เบาะควรจะสูงกว่า ว่างั้น) เพราะถ้าเบาะต่ำกว่าแฮนด์ จะเจอปัญหาปวดหลังเวลาปั่นเสือภูเขาสุดรักก็ได้ครับ
อุปกรณ์สำคัญสำหรับมือใหม่ที่ควรจะซื้อ(ไม่ซื้อไม่ได้)
· กางเกงสำหรับปั่นจักรยาน-ช่วยลดอาการเจ็บก้นได้· ถุงมือ-ช่วยลดอาการมือชาได้ระดับหนึ่ง ช่วยลดอาการบาดเจ็บในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ(ใช้มือยันพื้นขณะล้ม)
· หมวกกันกระแทก-สำคัญมากเพราะช่วยป้องกันศีรษะกระแทกจากการเกิดอุบัติเหตุได้
· กระติกน้ำ-เมื่อปั่นเกิน 30 นาทีไม่ควรให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอาการตะคริว
· ไฟหน้า-ไฟหลัง
· วาสลิน-ใช้ทาเพื่อลดการเสียดสีของต้นขา กับเบาะ ครั้งแรกจะเกิดการเสียดสีมากที่สุด และอาจจะทำให้คุณปั่นกลับบ้านไม่ได้
เมื่อคุณอ่านจบอาจจะคิดว่า การปั่นจักรยานเสือภูเขาเป็นอะไรที่ยุ่งยาก หรือดูเหมือนจะส่งผลเสียกับสุขภาพในระยะยาว อันนี้ขอบอกก่อนเลยครับว่า หากเราขับขี่อย่างพอเหมาะสม ไม่ฝืนร่างกายจนเกินไป และใช้พาหนะได้อย่างถูกต้อง การปั่นจักรยานจะนำโลกอีกใบหนึ่งมาสู่คุณให้ลืมโลกเก่าๆไปเลยล่ะครับ เพราะมันเพลินจริงๆ ยิ่งคุณปั่นได้เก่งขึ้น คุณเพลินกับการปั่นจักรยานไปเลย วันหนึ่งๆคุณอาจจะปั่นได้อย่างต่ำวันละ 50 กิโลเมตรเลยก็ว่า และยิ่งคุณเพลินเท่าไหร่ มันก็ส่งผลกับร่างกายของคุณเช่นกันครับ ดังนั้นจงออกกำลังกายอย่างพอเพียง และเพียงพอครับ แล้วร่างกายของเราจะแข็งแรง
มือใหม่กับการปั่นจักรยานเสือภูเขาค่อยๆปรับค่อยๆแก้ครับเตรียมตัวฟิตร่างกายดีๆแล้วเราก้อไปปั่นๆๆกันเถอะครับปั่นเพื่อสุขภาพครับผม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)