วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การจัดระเบียบของร่างกายขณะปั่นเสือภูเขา

Merida hardtail mountain bike Big Nine TFS 100 black

Merida hardtail mountain bike Big Nine TFS 100 black



วันนี้เริ่มบทความด้วยความงงมันจะอะไรกันนักหนาเนี้้ยครับ ยังไม่หมดปี2013เลยรุ่นปี2014ออกมาแล้วเนี้ยเตรียมตัวไม่ทันเลยจริงๆ
จะเก็บเงินยังไงทันถึงจะใจรักแต่อีแก่คู่ชีพทำยังไงดี หนอถ้าออกคนใหม่มาขี้แล้วอีแก่่คู่ชีพจะเอาไปไว้ไหนถ้ายังงั้นอย่าเพิ่งดี
กว่าอีแก่คันเก่าก็ยังดีๆมาเข้าเรื่องดีว่าเน่าะออกนอกทางไปไกลล่ะอิอิอิอิอิอิอิเริ่มกันที่นี้ล่ะกัน
สำหรับวันนี้

 การจัดระเบียบของร่างกายขณะปั่นเสือภูเขา
    เทคนิคในการปั่นจักรยานให้เร็ว และในขณะเดียวกันต้องรู้สึกว่าปั่นสบาย ไม่ปวดหลัง เอว คอ แขน และขา นักจักรยานจะต้องรู้จักการจัดวางตำแหน่งของร่างกายให้เหมาะสมตามสภาพเส้นทางที่ต้องขี่ผ่าน นักจักรยานเสือภูเขาจะวางตำแหน่งของร่างกายไม่เหมือนกับนักจักรยานเสือหมอบ เพราะต้องคอยปรับน้ำหนักตัวให้รถจักรยานเกิดความสมดุลตลอดเวลาเนื่องจากพื้นผิวของเส้นทางและอุปสรรค์ต่างๆที่อยู่ในเส้นทางทำให้นักกีฬาไม่สามารถนั่งปั่นได้นานๆเหมือนกับการขี่จักรยานเสือหมอบซึ่งใช้เส้นทางบนถนนที่มีพื้นผิวเรียบสบาย ฉะนั้นนักจักรยานเสือภูเขาจะต้องการจัดวางตำแหน่งของร่างกายให้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งก็ยังมีนักปั่นชาวเสือเป็นจำนวนมากจัดวางตำแหน่งของท่าขี่ไม่ถูกต้อง จึงมักทำให้เกิดปัญหามากมายเกี่ยวกับการควบคุมรถ ให้อยู่ในการบังคับของผู้ขี่ตลอดเวลา (บางครั้งความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าก็เป็นสาเหตุของข้อผิดพราดในการบังคับรถให้ปลอดภัยเช่นกัน) โดยปกติรถจักรยานที่เราใช้แข่งขันไม่ว่าจะมีราคาแพงหรือถูกไม่ใช่จุดสำคัญ แต่รถจักรยานที่ว่านั้นจะต้องถูกเซทรถให้เหมาะสมกับตัวผู้ขี่มากที่สุดจึงจะทำให้จักรยานที่ใช้ขี่อยู่ในการควบคุมที่ดีตลอดเวลา ในทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะขี่ ขึ้นเขา ลงเขา เลี้ยวซ้าย ขวา การหลบหลีก หรือแม้แต่การกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง เราผู้ขี่จะต้องเป็นเจ้านายมัน ไม่ใช่มันเป็นเจ้านายเราซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้เราต้องอาศัยเทคนิคในการจัดตำแหน่งการวางร่างกายเกี่ยวกับท่าขี่ให้เหมาะสมถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการปั่นให้มีมากที่สุด ผู้เขียนขอเสนอแนะเทคนิคการจัดวางตำแหน่งของท่าขี่จักรยานเสือภูเขา 2 วิธี ดังนี้

1. การวางตำแหน่งในการนั่งปั่นบนอาน การปั่นจักรยานตามปกติจะนั่งปั่นบนอาน การนั่งปั่นอยู่บนอานจะมีจุดรับน้ำหนักตัวของผู้ขี่ตกอยู่บนรถจักรยาน 3 จุดใหญ่ด้วยกันคือ จุดแรกคือที่อาน ซึ่งเป็นจุดที่รับน้ำหนักตัวของผู้ขี่มากที่สุด จุดที่สองคือลูกบันได เป็นจุดที่รับน้ำหนักรองลงมาจากอาน และจุดสุดท้ายคือที่ แฮนด์ ทั้งสามจุดนี้จะรับน้ำหนักตลอดเวลาถ้าผู้ขี่นั่งปั่นจักรยานมากน้อยต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพเส้นทางที่ขี่ผ่าน จุดสำคัญขณะขี่รถจักรยานต้องเกิดความสมดุล ฉะนั้นการวางตำแหน่งในการนั่งปั่นบนอานสามารถทำได้ดังนี้

     1.1 การวางก้นนั่งเต็มอาน ผู้ขี่จะใช้อานเต็มพื้นที่โดยนั่งเต็มพื้นที่ของอานทั้งหมดเท่ากับความกว้างของอานที่ใช้ ท่าขี่นี้จะใช้นั่งขี่บนเส้นทางราบเรียบสบายๆ เป็นช่วงที่ผู้ขี่สามารถขี่ทำความเร็วได้

     1.2 การวางก้นนั่งกลางอาน ผู้ขี่จะต้องเขยิบก้นเถือบมาข้างหน้าอานเล็กน้อยให้น้ำหนักตัวตกอยู่กลางอาน สาเหตุที่ต้องนั่งปั่นแบบนี้ก็เพื่อเพิ่มแรงกดลูกบันไดให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มความเร็วในการปั่นจักรยานได้เพิ่มขึ้น ท่านั่งนี้จะใช้ขี่แข่งแบบสปริ้นท์ และการขี่ขึ้นเขาชันปานกลาง

     1.3 การวางก้นนั่งปั่นปลายอานด้านหน้า ผู้ขี่เสือภูเขาจะต้องเขยิบก้นเลื่อนขึ้นไปข้างหน้าให้มากขึ้นกว่าการนั่งกลางอาน จุดประสงค์เพื่อเพิ่มแรงกดลูกบันไดให้มีมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความสมดุลให้กับรถจักรยาน ในขณะที่ต้องขี่ขึ้นเขาชันมากๆ(ถ้าไม่เขยิบก้นขึ้นจะทำให้รถจักรยานหน้ายกลอยขึ้นทำให้เสียความสมดุลได้)

     1.4 การวางก้นนั่งปลายอานด้านหลัง ผู้ขี่ต้องเขยิบก้นถอยกลับมาข้างหลังของอาน ทำให้ล้อหลังซึ่งเป็นล้อแรงขับมีมากขึ้น จุดประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มแรงดันในการถีบลูกบันไดให้มีมากขึ้น เป็นการวางตำแหน่งของท่าขี่ที่ใช้ในการขี่ขึ้นเขาสูงที่ลาดยาวขึ้นไปเรื่อยๆ

2. การวางตำแหน่งในการยืนปั่นบนจักรยาน เป็นไปไม่ได้ว่าการขี่จักรยานของเราจะต้องนั่งปั่นจักรยานตลอดเวลา เพราะอาการเมื่อยล้าอาจเกิดขึ้นกับผู้ขี่ได้ โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อก้นของเราที่ต้องนั่งปั่นบนอานนานๆทำให้ เกิดอาการเมื่อยล้าดังนั้นการเปลี่ยนตำแหน่งจากท่านั่งมาเป็นท่ายืนปั่นทำให้รถเกิดความสมดุลและใช้ในการขี่หลบหลีกเครื่องกีดขวางหรืออุปสรรค์ต่างๆได้ดีขึ้น ตลอดจนเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถทำให้เกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆที่ใช้ในการปั่นจักรยาน การยืนปั่นทำได้หลายหลากหลายรูปแบบดังนี้

     2.1 การยืนปั่นบนลูกบันไดทั้งสองข้าง ขณะที่ยืนขี่ผู้ขี่จะต้องให้น้ำหนักของตนเองอยู่ตรงกลางรถจักรยานให้ได้ โดยการถ่านน้ำหนักตัวไปที่ลูกบันไดทั้งสองข้างเท่าๆกัน ยืนโยกปั่นลูกบันไดให้สม่ำเสมอจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อก้นผ่อนคลายแล้วจึงนั่งปั่นตามปกติ

     2.2 การยืนอยู่บนลูกบันไดทั้งสองข้าง ผู้ขี่จะต้องให้น้ำหนักตัวของตนเองอยู่ตรงกลางรถจักรยานให้ได้ โดยถ่ายน้ำหนักกดน้ำหนักตัวไปที่ลูกบันไดทั้งสองข้างเท่าๆกัน ในขณะที่ก้านบันไดทั้งสองวางขนานพื้นตลอดเวลาที่ 3 และ 9 นาฬิกา การจัดวางตำแหน่งในท่านี้ไม่ต้องปั่นลูกบันได จุดประสงค์ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ เตรียมตัวกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง และหลบหลีกอุปสรรค์ต่างๆ
     2.3 การยืนบนลูกบันไดทั้งสองข้างโดยให้น้ำหนักตัวมาอยู่ที่ล้อหลัง ผู้ขี่ต้องถ่ายน้ำหนักตัวให้มาอยู่ที่ล้อหลังมากขึ้น (ปกติน้ำหนักตัวผู้ขี่จะตกที่ล้อหน้า-หลัง 40:60) มือทั้งสองกำแฮนด์ด้วยนิ้ว โป่ง กลาง นาง ก้อย แขนทั้งสองเหยียดตึงโดยมีนิ้วชี้คอยแตะเบรกตลอดเวลา

      2.4 การยืนปั่นบนลูกบันไดโน้มตัวมาข้างหน้า ผู้ขี่จะต้องพยายามจัดร่างกายโดยการโน้มลำตัวไปข้างหน้าขณะที่ยืนปั่นลูกบันได จุดประสงค์เพื่อเพิ่มแรงกดให้กับลูกบันไดให้มีมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ต้องขี่ขึ้นทางชันมากๆ หรือใช้ในการออกตัวเริ่มการแข่งขัน หรือการสปริ้นท์เข้าเส้นชัยด้วย หมายเหตุ การโน้มตัวไปข้างหน้าที่ดีรถจักรยานจะต้องเกิดความสมดุลตลอดเวลาคือล้อหลังจะไม่ฟรีแม้จะออกแรงปั่นมากเพียงใดก็ตาม

     2.5 การยืนปั่นบนลูกบันไดที่ 6 และ 12 นาฬิกา ผู้ขี่จะยืนด้วยเท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้านำก็ได้แล้วแต่ความถนัด โดยลูกบันไดที่อยู่ต่ำสุดจะเป็นตัวรองรับน้ำหนักตัวของผู้ขี่ทั้งหมด จุดประสงค์เพื่อใช้ในการขี่เข้าโค้ง หรือใช้ในการยืดกล้ามเนื้อน่องโดยการกดส้นเท้าให้ต่ำลง

3. ตำแหน่งในการวางเท้าขณะปั่นลูกบันได การวางเท้าในขณะปั่นลูกบันไดเป็นจุดสำคัญที่นักปั่นชาวเสือต้องพยายามศึกษาหาจุดสำคัญนี้ให้ได้ เพราะการรู้จักวางเท้าในการปั่นให้ถูกต้องกับกิจกรรมการปั่นที่กำลังแข่งขัน/ฝึกซ้อมอยู่ ทำให้นักกีฬาได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถทำได้ดังนี้

     3.1 การวางส้นเท้าตำกว่าปลายเท้าขณะปั่น จุดประสงค์เพื่อเพิ่มแรงดันให้มีมากกว่าแรงดึง ใช้ในการขี่จักรยานขึ้นเขา ผ่านทราย โคลน หรือเพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อน่อง(กดส้นเท้าลงยืดน่อง) การวางตำแหน่งของเท้าแบบนี้เป็นท่าขี่ที่ใช้ความเร็วค่อนข้างน้อย


    3.2 การวางเท้าขนานกับลูกบันได จุดประสงค์ใช้ในการปั่นสบายๆบนถนนทางเรียบ และใช้เป็นท่าขี่แข่งขันประเภทจับเวลา เช่น ไทม์ไทรอัล การวางเท้าที่ขนานกับลูกบันไดสามารถปั่นทำความเร็วได้ในระดับปานกลาง จักรยานเสือภูเขาจะใช้วิธีการวางเท้าแบบนี้มากในการแข่งขัน 3.3 การวางเท้าให้ปลายเท้าจิก จุดประสงค์เป็นการปั่นเร่งความเร็วสูง ในขณะขี่สปริ้นท์เข้าเส้นชัย หรือขี่หนีคู่แข่งขัน นอกจากนี้ยังใช้ในการขี่ลงเขาที่ใช้ความเร็วสูงๆ

4. การวางตำแหน่งของแขนและมือในขณะขี่ การวางตำแหน่งของแขนและมือ ผู้ขี่ต้องพยายามฝึกวางให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม จะทำให้การขี่จักรยานรู้สึกสดวกสบายและมีความมั่นคงในการบังคับจักรยานให้เกิดความสมดุลยิ่งขึ้น ถือว่าเป็นการจัดระเบียบของร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งของการนั่งหรือยืนปั่นจักรยานที่เหมาะสม โดยที่มือทั้งสองจับแฮนด์จักรยานอยู่ตลอดเวลาในขณะขี่ การวางตำแหน่งที่ดีของมือและแขนแขนจะไม่เกร็ง ซึ่งมีท่าการวางมือดังนี้

     4.1 การวางมือกำแฮนด์สบายๆแขนงอเล็กน้อย จุดประสงค์ เพื่อยกลำตัวขึ้นให้เกิดความสบาย การหายใจทำได้สะดวกทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายในขณะขี่

     4.2 การวางมือกำแฮนด์หลวมๆแขนงอเล็กน้อย จุดประสงค์ เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนจากล้อที่ต้องขี่ผ่านเส้นทางที่สะเทือน (แขนที่งอจะช่วยลับแรงสั่นสะเทือนนั้นๆ)

     4.3 การวางมือกำแฮนด์แน่นๆ จุดประสงค์เพื่อการขี่ลงเขาที่ชันมากๆ หรือการขี่ยกล้อหน้าให้ลอยขึ้นในอากาศ สรุปว่าการขี่จักรยานจะได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น การวางตำแหน่งของร่างกายเกี่ยวกับท่าขี่ที่เหมาะสมสวยงาม ท่าขี่จักรยานเสือภูเขาจะไม่เหมือนรถเสือหมอบเพราะท่าขี่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไปตามสภาพความเป็นจริงของเส้นทางวิบากที่ใช้ในการแข่งขันเสือภูเขา นักปั่นชาวเสือต้องฝึกการวางตำแหน่งของร่างกายให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นท่านั่งขี่ ยืนปั่น การวางเท้า มือและแขนต้องเกิดความสมดุลทำให้การบังคับและการใช้แรงกายในการปั่นจักรยานสามารถใช้ได้อย่างเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ครับ



ลองศึกษาดูแล้วลองเอาไปทำตามน่ะครับ บทความบทนี้จากผู้รู้และพี่ๆหลายคน คนผมเป็นคนเก็บมาเรียบเรียงให้ออกมาเป็นถ่อยคำ มีประโยชน์กับเพื่อนๆพี่ๆน้องผมก็ดีใจครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น